ในปัจจุบัน สถานการณ์การเรียนต่อที่ประเทศออสเตรเลียได้รับความสนใจจากนักเรียนต่างชาติจากทั่วโลกเป็นอย่างมาก ซึ่งแน่นอนว่ารวมถึงน้อง ๆ นักเรียนไทยด้วย ในปีล่าสุดมีเด็กนักเรียนไทยจำนวนมากตัดสินใจเดินทางไปเรียนต่อ หรือเรียนคอร์สภาษาอังกฤษที่ออสเตรเลีย แต่ด้วยความที่มวลประชากรของนักเรียนไทยในออสเตรเลียเพิ่มขึ้นสูงมาก และมีนักเรียนหลายคนที่เมื่อไปถึงแล้วไม่ได้ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์การไปเรียนตามที่ระบุในวีซ่านักเรียน คราวนี้ทางรัฐบาลและหน่วยงานภาครัฐของประเทศออสเตรเลียจึงออกมาตรการตรวจวัดที่เข้มข้นขึ้นสำหรับนักเรียนไทยโดยเฉพาะ
มาเช็กกันให้ครบทุกข้อว่า เงื่อนไขที่เปลี่ยนไปของวีซ่านักเรียนออสเตรเลีย เป็นอย่างไร? มีเอกสารหรือ ขั้นตอนการเตรียมตัวใด ๆ ที่เพิ่มขึ้นมาบ้าง
1. อัปเดตเงื่อนไขการขอวีซ่านักเรียนที่มีการคัดกรองอย่างเข้มงวด การเตรียมตัวให้ดีจึงยิ่งสำคัญสองเรื่องหลัก ๆ ที่เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญสำหรับผู้ที่ต้องการไปเรียนต่อที่ประเทศออสเตรเลีย ไม่ว่าจะเป็นหลักสูตรใด ๆ ก็ตาม และโดยเฉพาะหลักสูตรภาษาอังกฤษจะมีการตรวจที่เข้มงวดยิ่งขึ้น
ทางสถานทูตออกมาตรการจัดการนักเรียนที่กำลังเตรียมขอวีซ่าด้วยการเพิ่มงบค่าใช้จ่าย ที่ต้องใช้เป็นหลักฐานในการยื่นขอพิจารณาวีซ่า มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ตุลาคมเป็นต้นไป ดังนั้น อัตราค่าใช้จ่ายที่ผู้สมัครเรียนวีซ่าต้องมีคือ 24,505 ดอลลาร์ออสเตรเลีย ต่อปี หรือเป็นมูลค่า 563,615 บาทต่อปี (คำนวณจากอัตราแลกเปลี่ยน 1 AUD = 23 บาท) ซึ่งงบใหม่นี้เป็นการเพิ่มงบจากเดิมถึง 17% เลยทีเดียว จัดว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่ตั้งใจคัดกรองนักศึกษาทั้งด้านการเงินและความพร้อมของผู้ที่ต้องการไปเรียนจริง ๆ โดยงบค่าใช้จ่ายในเงื่อนไขตรงนี้ก็จะขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ผู้เรียนไปเรียน อย่างเช่น ถ้าต้องการไปเรียนต่อปริญญาตรี 3 ปี นักเรียนจะต้องมีงบค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันติดบัญชีไว้ประมาณ 565,000 บาท x 3 ปี รวมเป็นกว่า 1,695,000 บาท หรือถ้าใครเรียนปริญญาตรี 4 ปี ก็ต้องบวกเพิ่มเข้าไปอีก โดยงบส่วนนี้ยังไม่รวมค่าเทอมการศึกษาค่าเรียน ใครที่สนใจสอบถามขอข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องงบที่ต้องมีในบัญชีเป็นหลักฐานการขอวีซ่านักเรียน เรียนต่อปริญญาตรี โท เอก คอร์ส Diploma คอร์ส Certificate หรือคอร์สเรียนภาษาอังกฤษ ปรึกษา Hands On ได้เลย รวมทั้งเรื่องค่าใช้จ่ายของแต่ละที่เรียน ได้ข้อมูลครบได้ทุกเรื่องในที่เดียว
นอกจากนั้น ทางสถานทูตยังเตรียมมาตรการจัดการขั้นเด็ดขาดเรื่องระบบ Concurrent enrollment (CoE) จะถูกยกเลิกโดยมีผลทันที กรณีนี้เป็นการออกมาตรการสำหรับป้องกันผู้ที่สมัครไปเรียนกับสถาบันหนึ่งแล้วจะเปลี่ยนที่เรียนไปยังอีกสถาบันหนึ่ง กล่าวคือ ก่อนหน้านี้นักเรียนที่เดินทางไปเรียนภาษาที่ออสเตรเลีย สามารถรับใบ enrollment ได้พร้อมกัน 2 ใบ ทำให้นักเรียนมีตัวเลือกในการไปเรียนได้ แต่ในทางกลับกันบางสถาบันกลับกำหนดเวลาเรียนน้อย ๆ เพื่อให้นักเรียนได้ใช้เวลาไปทำงานมากกว่าเรียน ทำให้มีเคสนักเรียนสมัครไปเรียนกับสถาบันที่ 1 ที่เน้นเรื่องการเรียนการสอน แต่พอไปเรียนได้ไม่นาน ก็จะเปลี่ยนไปเรียนกับสถาบันที่ 2 ที่ไม่เน้นเรื่องการเรียน และไปตั้งใจทำงานพิเศษแทน โดยทางการได้พบเจอกับเคส Concurrent enrollment มากกว่า 17,000 เคส ในปี 2023 นี้ ซึ่งเป็นเคสร้ายแรงที่ส่งผลให้นักศึกษาบางคนถูกส่งตัวกลับประเทศทันที หากถูกพบว่าทำงานพิเศษเกินจากเวลาที่วีซ่านักเรียนกำหนด หลังจากยกเลิกระบบ Concurrent enrollment แล้ว หมายความว่าผู้เรียนจะไม่สามารถรับใบตอบรับสองใบพร้อมกัน จากสถาบันเรียนหลายแห่งได้แล้ว ถ้านักเรียนตอบรับเข้าเรียนกับสถาบันเรียนที่ 1 แล้ว จะไม่สามารถเปลี่ยนสถาบันเรียนได้ง่าย ๆ แล้ว ต้องมีการอนุมัติยกเลิกการเรียนจากสถาบันแห่งแรกก่อนเท่านั้น เพื่อที่ทางสถานทูตจะสามารถตามตรวจสอบต่อได้ ว่านักเรียนจะไปสมัครเรียนต่อที่สถาบันไหน เป็นสถาบันที่ได้การรับรองเรื่องการศึกษาหรือไม่ ตามเงื่อนไขวีซ่านักเรียนนั้น ๆ และนอกจากการจัดการยกเลิกระบบ CoE นี้แล้ว ทางรัฐบาลออสเตรเลียยังเร่งพิจารณาและตรวจสอบคุณภาพของโรงเรียนที่เปิดขึ้นมาแต่มีอัตราการถูกปฏิเสธวีซ่าเป็นจำนวนมาก ว่ามีหลักสูตรการเรียนที่ครบตามกำหนดหรือไม่ และหากตรวจพบว่าสถาบันเรียนมีคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐาน สถาบันเหล่านั้นก็จะได้รับ suspension certificate ซึ่งหมายถึงว่าตัวสถาบันจะไม่สามารถรับสมัครนักเรียนต่างชาติได้ |
2. อัปเดตเงื่อนไข Temporary Graduate visa (subclass 485) สำหรับผู้เรียนคอร์ส Diploma/Certificateต้องขออธิบายเพิ่มเติมว่าโอกาสที่นักศึกษาออสเตรเลีย จะได้ยื่นต่อวีซ่าหลังเรียนจบ หรือ Temporary Graduate visa (subclass 485) มีวีซ่าที่สามารถยื่นได้แบ่งเป็น 3 ประเภทด้วยกัน คือ
โดยเงื่อนไขของตัววีซ่าที่เปลี่ยนไปนี้จะเป็น Graduate Work stream ของผู้ที่เรียนจบในหลักสูตรเฉพาะทาง ซึ่งเป็นหลักสูตรอนุปริญญา หรือเรียกว่า หลักสูตรประกาศนียบัตร หรือ หลักสูตรระยะสั้น (Diploma/Certificate) ซึ่งวีซ่าทำงานต่อหลังเรียนจบตัวนี้จะเปิดโอกาสสำหรับคนที่เรียนจบในสาขาเรียนที่กำลังเป็นที่ต้องการ หรือขาดแคลนในประเทศออสเตรเลียนั่นเอง วีซ่า Graduate Work stream มีเงื่อนไขให้ผู้สมัครวีซ่าที่เรียนจบตรงสาขา skilled occupation list ที่สถานทูตกำหนด ได้เรียนต่อ ทำงาน หรือท่องเที่ยวในออสเตรเลียได้ 18 เดือน ซึ่งปรับลดจากเดิมที่ให้ระยะเวลาถึง 2 ปี โดยผู้สมัครต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
ส่วนนักเรียนที่จบการศึกษาจากหลักสูตรปริญญาตรี โท หรือเอก ก็ยังสามารถสมัครขอวีซ่า Post-Study Work stream และ Second Post-Study Work stream ได้ดังเดิม โดยต้องจบหลักสูตร ดังนี้
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ บทความนี้ www.hands-on.co.th/2023/03/australia-extended-post-study-work-visa-2-years-in-july-2023/ |
3. เปลี่ยนเอกสารการยื่นขอวีซ่า GTE จะถูกแทนที่ด้วย GST (Genuine Student Test) ในปี 2024สำหรับน้อง ๆ ที่กำลังวางแผนไปเรียนต่อที่ประเทศออสเตรเลีย และแพลนเรื่องการสมัครเรียนอยู่ เริ่มเตรียมตัวสอบ GST หรือ Genuine Student Test ที่กำลังจะปรับใช้แทนการยื่นจดหมาย GTE หรือ Genuine Temporary Entrant กันได้เลย เพราะในปี 2024 นี้ทางรัฐบาลกำลังพิจารณาปรับใช้การสอบวัดผล แทนการยื่นเอกสาร GTE ซึ่งกระบวนการนี้ คือการพิจารณาจุดประสงค์ของการไปเรียนต่อของผู้สมัครขอวีซ่าทุกคน บทความนี้พี่ Hands On จะพาให้น้อง ๆ มาทำความรู้จักกับ การสอบ Genuine Student Test กันคร่าว ๆ ค่ะ Genuine Student Test (GST) คือ การวัดผลสำหรับการยื่นขอวีซ่านักเรียนของประเทศออสเตรเลีย ที่ต้องการวัดความตั้งใจไปเรียน และเจตนารมณ์ในการเข้าประเทศออสเตรเลียเพื่อการเรียนเพียงชั่วคราว และมีแผนในการกลับประเทศที่แน่นอน ซึ่งกระบวนการนี้จะใช้รูปแบบของการสัมภาษณ์ตัวต่อตัวของผู้สมัครกับเจ้าหน้าที่ของสถานทูตออสเตรเลีย โดยปัจจัยการวัดผลในการสัมภาษณ์ขอวีซ่า คือ
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ระบบการสัมภาษณ์ขอวีซ่านักเรียนออสเตรเลียจะมีผลบังคับใช้ในปี 2024 ซึ่งเรายังต้องรอประกาศใช้อย่างเป็นทางการอีกครั้ง |
สำหรับน้อง ๆ ที่ต้องการความมั่นใจในการเตรียมตัวไปเรียนต่อที่ออสเตรเลียทุกกระบวนการ รวมไปถึงการสมัครขอวีซ่านักเรียน เข้ามาพูดคุยและปรึกษาทุกเรื่องเรียนต่อออสเตรเลียแบบครบจบทุกขั้นตอนได้เลยกับพี่ Hands On Education Consultants บริการปรึกษาฟรีเพื่อน้อง ๆ ที่สมัครเรียนกับ Hands On เท่านั้น