University of Roehampton

รีวิว MA Play Therapy ที่ University of Roehampton โดย Am

  • Share this:

แนะนำตัวให้เรารู้จักหน่อยค่ะ

Am: ชื่อแอมค่ะ เรียนคอร์ส MA Play Therapy เป็นคอร์สป.โท ที่ University of Roehampton ค่ะ

ทำไมถึงเรียนคอร์สนี้

Am: แอมเรียนจิตวิทยามาก่อน อันนี้เป็นคอร์สบำบัดที่เจาะลึกมากขึ้นจากที่เราเคยเรียนมาค่ะ แล้วคอร์สนี้ก็ได้เรียน 2 ปี ต้องฝึกงาน มันเหมือนเรียนเพื่อเอาใบประกอบวิชาชีพเพราะพอเราเรียนจบคอร์สนี้เราจะได้ certify เป็น therapist ค่ะ

ส่วนเหตุผลหลักที่อยากต่อยอดด้านนี้คือ ชอบและอยากเจาะลึกและเพิ่มความเชี่ยวชาญด้านเด็กกับครอบครัว  เพราะพอจบป.โทใบก่อน คือ จิตวิทยาที่ University of Bristol เราก็กลับไทยมาทำงานเป็นครูสอนพัฒนาการเด็กเล็ก เราได้รู้ว่าเราชอบทำงานกับเด็กเล็กกับครอบครัว รู้สึกว่าเด็กคืออนาคตของชาติ ผู้ใหญ่ในปัจจุบันคือผลลัพธ์ของเด็กที่ little you มาก่อนอยากทำตรงนี้กับเด็ก พูดแล้วก็เขิน (ยิ้ม)

จุดเริ่มต้นการเปลี่ยนสายเรียน

Am: แอมเปลี่ยนสายที่ตัวเองเรียนมาจากตอนป.ตรี เรียนโบราณคดีที่ศิลปากร เอกอังกฤษ โทประวัติศาสตร์ ตอนนั้นทำงานเป็นติวเตอร์ ได้ทำงานกับเด็ก ทำให้เราเจอว่าเราชอบทำงานกับเด็ก ชอบวิเคราะห์คน ชอบเรื่องจิตวิทยาโดยที่ไม่รู้ว่าสิ่งที่เราชอบมันเรียกว่าจิตวิทยา

พอเรียนจบเราได้ทำงานขายคอร์สให้ HR ซึ่งมันเป็นจิตวิทยาสำเร็จรูป มีการคิดมาแล้วว่าแต่ละคอร์สต้องเรียนอะไร และเราได้ทำงานในส่วนของการออกแบบคอร์สเรียนสำหรับองค์กร (B2B) ได้มีโอกาสฟัง HR มาเล่าปัญหาพฤติกรรมคนในองค์กร และได้ให้คำปรึกษาเรื่องรายละเอียดคอร์สเรียนต่าง ๆ วางแผนว่าทำยังไงให้คนเปลี่ยนพฤติกรรม หรือมีโปรเจกต์ที่ได้ทำงานกับโรงเรียน ทำได้อยู่ 2 ปี เราก็รู้สึกว่าเราอยากทำงานสายนี้อย่างจริงจัง ก็เริ่มหาข้อมูลว่าทำยังไงเราถึงจะสามารถทำงานสายนี้ได้ ก็ตัดสินใจว่าจะเรียนป.โท แล้วก็ได้เข้ามาปรึกษากับพี่ Hands On ตั้งแต่แรก พี่เค้าก็แนะนำเลยว่าต้องเป็นคอร์ส conversion programme เท่านั้นนะ ถึงจะสามารถเรียนได้ ตอน ป.โทใบแรกเลยลงเรียน MSc Psychology of Education ที่ University of Bristol ค่ะ เป็นจุดเริ่มต้นในการเปลี่ยนสายการเรียนของเราเลยค่ะ

ทำไมถึงลงตัว Roehampton เพราะจริงๆ ก็มีอีกหลายมหาวิทยาลัยที่เปิดสอน

Am: ตอนแรกก็ไม่รู้ว่าอยากเรียนอะไร แต่รู้ว่าอยากเรียนเกี่ยวกับเด็ก ตอนเลือกคอร์สก็ดูพวก Child psychology ต่าง ๆ แล้วเห็น Play therapy ก่อน ก็เอ๊ยมีคอร์สแบบนี้บนโลกด้วยเหรอ แอมเคยไปลงเรียนคอร์สสั้นออนไลน์ของอเมริกาตอนช่วงโควิด ก็ชอบ อยากเรียนลึกไปด้านนี้ ทำอาชีพนี้ไปเลย ก็ดู career path อาชีพนี้ ว่าต้องทำอะไร ดูว่ามีที่ไหนบ้าง ประเทศไหนโอเค แต่เราก็จบอังกกฤษมาแล้ว งั้นก็เลือกอังกฤษแหละ มันน่าจะต่อยอดได้ในทางนั้น พอได้ประเทศแล้วก็มาดูว่าที่อังกฤษมี Play therapy ที่ไหนบ้างที่สอนด้านนี้ มีสอนระดับปริญญาที่ไหนบ้าง เพราะเราไม่อยากเรียนพวก diploma ซึ่งก็มีให้เลือก 3 ที่ คือที่ Roehampton ส่วนอีกสองที่จำไม่ได้แต่ไม่ได้อยู่ในลอนดอนค่ะ แล้วก็มีการดูคอร์ส module ของทั้งสามที่ เราชอบ module ของที่ University of Roehampton ที่สุด แล้วก็อยู่ในลอนดอนด้วย อยากอยู่ใจกลาง ก็เลยเลือกที่นี่ค่ะ

การเตรียมตัวเรียนต่อ

Am: กลับมาหา Hands On เหมือนเดิมค่ะ (หัวเราะ)  ตอนมาเรียนอังกฤษครั้งแรกเพื่อนแนะนำ เพื่อนใช้ Hands On ก่อนก็เลยตามมา ก่อนหน้านี้เคยไปถามเอเจนซีที่อื่นด้วย ถามหลาย ๆ ที่พร้อมกัน ของบางที่ไม่มี connection เหมือนพาร์ทเนอร์มหาวิทยาลัยเค้ามีน้อย พอถามอะไรแล้วมันมีคำว่า “ไม่ได้” เยอะ ซึ่งของแอมมันเป็นสาขาเฉพาะทางด้วย มันไม่ได้มีคนมาเรียนเยอะหรือมีข้อมูลอยู่แล้ว สาขาที่แอมจะเรียนมันต้องหาข้อมูลใหม่เยอะมาก แล้วเอเจนซีอื่น ๆ เหมือนเค้าไม่ค่อยรู้ข้อมูล ก็เลยมมาถาม พี่ Hands On ดีกว่า เพราะพี่ Hands On สามารถให้ข้อมูลได้ว่าเรียนได้ยังไง และเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง connection กับมหาวิทยาลัยก็เยอะ เลยมาใช้ Hands On ต่อ

สนใจวางแผนเรียนต่อต่างประเทศ ปรึกษาพี่ ๆ Hands On ตัวแทนมหาวิทยาลัยใน UK อย่างเป็นทางการประจำประเทศไทยกว่า 100 มหาวิทยาลัย ฟรี คลิก

บริการจากพี่ ๆ Hands On

Am: ที่ Hands On พี่เลม่อนก็ช่วยเยอะ ช่วยหาข้อมูล ตอนแรกแอมก็ลังเลมีสองอันที่สอนเกี่ยวกับเด็ก ๆ เหมือนกัน แต่อีกอันเป็น part time ก็คือไม่ใช่อย่างที่เราต้องการ พี่เลม่อนก็ช่วยถาม ช่วยตามกับทางมหาวิทยาลัยเยอะมากค่ะ คือช่วงสมัครเรียนก็มีความกังวลเยอะพอสมควร เพราะหลักสูตรนี้สมัครเรียนต่อไม่เหมือนหลักสูตร ป.โท ทั่วไป

คือเราต้องเขียน Statement of Purpose (SoP) ส่งเข้าไปก่อน ถ้าเราผ่าน ต้องไปสอบสัมภาษณ์ซึ่งทางมหาวิทยาลัยจะส่ง academic paper มาให้เราอ่านตีความ วิเคราะห์ แล้วไป debate กับอาจารย์ค่ะ คือมันต้องใช้สมองเยอะ ไม่อยากจะมาปวดหัวเรื่องเอกสาร ซึ่งส่วนนี้พี่ Hands On ดูแลให้ทั้งหมดเลยค่ะ วีซ่าก็ช่วย มีเพื่อนใช้อีกเอเจนซีนึง เค้าก็บอกว่าเรื่องวีซ่าต้องทำเองทั้งหมด แต่พอเราใช้บริการพี่ Hands On เค้าก็ช่วยเรื่องวีซ่าด้วย เขียน SoP ก็ส่งให้พี่ Hands On ช่วยเช็ค ตอนนั้นทำงานอยู่ด้วย ไม่มีเวลาเยอะ แต่พี่ Hands On ก็ดูแลทำให้หมดเลย เราก็ไม่ต้องปวดหัวเรื่องเอกสาร ไปปวดหัวเรื่องเรียนดีกว่า

 

เล่าเรื่องตอนสอบสัมภาษณ์ให้ฟังหน่อยค่ะ

Am: อยู่เมืองไทย debate ออนไลน์ค่ะ แต่ถ้าใครที่สมัครเรียนคอร์สนี้แล้วอยู่ที่อังกฤษคือโหดกว่า สมมุติมี candidate 5 คนต้องมานั่ง debate กันเอง แล้วจะมีอาจารย์คอยดู ส่วนเราโชคดีตอนสมัครเรียนอยู่ไทยก็เลยได้ทำสัมภาษณ์แบบออนไลน์ผ่าน Zoom คนเดียวกับอาจารย์สองคน ใช้เวลานานอยู่นะคะ ชั่วโมงครึ่งถึงสองชั่วโมง มีหลายพาร์ทด้วย เพราะเป็นเรื่องจิตวิเคราะห์ จิตของเราด้วย แล้วค่อยมาพูดถึง paper หลังจากนั้นก็รอผล

Play therapy

รีวิว MA Play Therapy

Am: เป็นคอร์สเปลี่ยนชีวิตจริง ๆ ไม่ใช่แค่เรียน เราต้องเปลี่ยนตัวเอง เรามาเรียนจันทร์ – อังคารเต็มวัน ต้อง workshop ไม่ได้มาแค่นั่งฟัง lecture แต่เค้าจะทำกับเราเหมือนที่เราต้องไปทำกับเด็ก สอนให้เราเล่นของเล่น คอร์สนี้ก็จะมีของเล่นเยอะมากในห้อง โจทย์มันก็จะเปลี่ยนไปในแต่ละครั้ง เช่น ให้เรานึกถึงอะไรบางอย่างแล้วก็เลือกของเล่น แล้วสะท้อนกลับมาว่าทำไมเราถึงเลือกสิ่งนี้ ฝึก emphatic listening ฝึกกับเพื่อนด้วยกันเองว่าถ้าเราเป็นนักบำบัดเราต้องคิดยังไง เหมือนเป็นการเปลี่ยนกระบวนการคิดของเราทั้งหมด มันเหมือนให้เราปลดล็อกเหมือนกัน

คอร์สที่นี้จะเป็น practice ทั้งหมด ไม่ใช่ research based อย่างเทอมนี้วิชา Human Development and Growth เรียนเกี่ยวกับพัฒนาการเด็กเป็นพื้นฐาน หรือมีวิชา Infant observation ให้เราต้องไปสังเกตเด็ก เป็นหนึ่งใน practice ที่เราต้องทำค่ะ คือเราจะต้องไปหาเด็กที่อายุต่ำกว่า 3 เดือน และเข้าไปสังเกตเค้าอาทิตย์ละครั้ง ครั้งละชั่วโมง ให้ครบ 30 ชั่วโมงค่ะ โดยที่เราไปสังเกตเด็กอย่างเดียว ไปนั่งดูเฉย ๆ ห้ามมีปฎิสัมพันธ์ใด ๆ กับตัวเด็ก (interact) ห้ามจดบันทึกรายละเอียดใด ๆ คือทุกอย่างให้เราสังเกตอย่างเดียวและนำกลับมาเขียนทุกอย่างสิ่งที่เราคิด สิ่งที่เราเห็น เป็นการฝึกตัวเราไปด้วย เพราะตอนทำงานจริง ๆ เราจะจดตอนบำบัดไม่ได้ ต้องอยู่กับปัจจุบันของลูกค้าหรือคนไข้เรา แต่ในระหว่างนั้นเราจะต้องเก็บรายละเอียดและอาจจะมาจดหลังจบการบำบัดแล้ว

บางครั้งก็จะได้ทำ group therapy กับเพื่อนในห้องค่ะ มีจับกลุ่มกัน 5 – 6 คน เราจะอยู่กับเพื่อนกลุ่มนี้ไปทั้งปี จะมีการฝึกฝน พัฒนาความสัมพันธ์กับเพื่อนในกลุ่ม ให้เราพูดหรือแสดงว่าคิดเห็นอะไรก็ได้ด้วยกันนานครึ่งชั่วโมง หลังจากนั้นจะเป็นการ reflex คือมานั่งวิเคราะห์ในตอนจบว่าเรามีวิธีการคิด หรือกระบวนการคิดอย่างไร

นอกจากนี้ก็จะมีเรียน lecture ทั่วไป แต่ทุกเนื้อหาจะมีการปฏิบัติเพิ่มเข้ามา ให้เราเอาทฤษฎีต่าง ๆ ที่เรียนไปทั้งหมดมาปรับใช้ อย่างเช่น สังเกตเรื่องแม่และเด็ก เป็นต้น

อีกเรื่องที่ไม่เหมือนคอร์สอื่น ๆ คือเราจะต้องผ่าน personal therapist ของตัวเอง บังคับในคอร์สเลย เราต้องไปหานักบำบัดของเราทุกอาทิตย์ คือทางมหาวิทยาลัยจะให้เราไปหานักบำบัด (therapist) ของเราเอง โดยที่ทางมหาวิทยาลัยจะมีเกณฑ์ข้อกำหนดมาให้ว่านักบำบัดที่เราไปหาจะต้องมี accredited ด้านนี้ และมีประสบการณ์มาแล้วกี่ปี คือไม่ใช่ว่าจะไปหานักบำบัดอะไรก็ได้ เราก็จะได้ไปหานักบำบัดไป แล้วพอเจอใครที่เรารู้สึกว่าคลิกก็ค่อยไปจบที่นักบำบัดคนนั้น ตอนแรกคิดว่าไปตาม course requirement จ่ายเพิ่มชั่วโมงละ 40-50 ปอนด์ ไม่ได้อยากไปเลย แต่พอไปก็รู้สึกว่ามันบำบัดเราจริง ๆ ทำให้รู้จักตัวเอง คือเราทำงานตรงนี้กับจิตคน ถ้าเราไม่เคลียร์กับตัวเองว่าทำไมเราเป็นแบบนี้ เราทำอะไร อะไรคือ traumatized ของเรา หรืออะไรจะเป็นสิ่งที่เราจะส่งต่อไปให้คนอื่น ถ้าเราไม่ตระหนักถึงเรื่องนั้นก็จะอันตรายกับคนไข้ กับลูกค้าของเรา ยิ่งเป็นเด็กด้วย ยิ่งต้องระวัง เราลงเรียนคอร์สนี้ไม่ใช่แค่เรียนเอาความรู้ แต่เราได้เปลี่ยนกระบวนการคิด เปลี่ยนทุกอย่างในชีวิตเรา ต้องฝึกงาน ต้องทำจริง

สนใจเรียนต่อ University of Roehampton ปรึกษาพี่ ๆ Hands On ฟรี คลิก

Placement (การฝึกงาน)

Play Therapy Placement 1 เป็นการเตรียมพร้อมก่อนที่เราจะไปทำ placement จริง เราต้องมีวิธีคิดยังไง มีการฝึกทำบทบาทสมมุติ (role play) เยอะ ฝึกทำกับเพื่อนสลับบทบาทกัน เธอเป็นเด็กก็เล่นไป เราเป็นนักบำบัดก็คอยสังเกตดู เช่น ถึงตรงนี้เราควรทำอย่างนี้แล้วนะ เราไม่ควรชี้แนะเด็กไปด้านนี้เป็นต้น คือเป็นการฝึกเราล้วน ๆ ค่ะ

Play Therapy Placement 2 คล้าย ๆ placement 1 เลยค่ะ แต่มีเรื่องจรรยาบรรณ (ethic) เพิ่มเข้ามา เช่น วิธีการคิดว่า การเป็นนักบำบัด เราต้องมีอะไรบ้าง ต้องทำอะไร ต้องคิดยังไง

เทอมหน้าก็จะเข้าโรงเรียนแล้ว ไปฝึกทำงานจริงกับเด็ก เทอมแรกเป็นการเตรียมตัวก่อนไปว่าต้องคิดยังไง ต้องทำอะไร ต้องมีอะไร หลังจากนั้นก็จะได้ออกไปทำงานจริง พอเวลาที่เราไปอยู่ที่โรงเรียนก็ต้องอัดวีดีโอ ตอนที่เราคุยกับเด็ก แล้วเอามาคุยกับ supervisor ว่าวิธีการที่เราทำมันเป็นอย่างไร ทางอาจารย์ก็จะให้คำแนะนำเรามาค่ะ

Play therapy

บรรยากาศในห้องเรียนเป็นยังไง คนเรียนเยอะไหม

Am: เพื่อนในห้องประมาณ 20 คนได้ค่ะ กำลังพอดี อย่างเวลาเรียน lecture กัน ถ้ามีคนเรียนเยอะกว่านี้ก็อาจจะโฟกัสไม่หมด ตอนนี้ 20 คน เวลาจับคู่ role play ก็ 10 คู่แล้ว เพื่อนในห้องทุกคนน่ารักมากค่ะ mindset ดี แล้วก็หลากหลายมาก ทั้งคนไทย, ไต้หวัน, เม็กซิโก แล้วก็คนอังกฤษ ประมาณนี้ค่ะ

อาจารย์ก็น่ารักมาก เหมือนคนที่มาอยู่ตรงนี้มันขัดเกลามาแล้ว ไม่ toxic คนสอนก็ดูแลเราเหมือนเป็นเด็กที่เค้าบำบัด วิธีการพูดเค้าก็จะเนิบ ๆ คอยถามว่าเราโอเคไหม หรือถ้าเราทำผิดอะไรอาจารย์ก็จะมาถามเราก่อนว่าเพราะอะไร

Assignment นอกเหนือจากการที่เราต้องฝึกฝนอยู่ตลอดแล้ว Assignment อื่น ๆ เป็นยังไงบ้าง

Am: Essay ที่ต้องทำส่งมันจะไม่ใช่แบบที่เราเคยเรียนค่ะ จะเป็น Reflective essay หรือเป็นแนววิเคราะห์ ไม่ใช่แนว Academic writing เราต้องอ่านวิจัยแล้วมาถกกัน

อย่างงานล่าสุด จะเป็นการทำบทบาทสมมุติการคุยกับพ่อแม่ของเด็ก ซึ่งเราต้องหาข้อมูล คุยยังไงให้พ่อแม่เข้าใจ ต้องใช้จิตวิทยา อัดเทปเสร็จก็ถอดเทปแล้วสะท้อนออกมาว่าทำไมเราถึงพูดอย่างนี้ เราพูดแบบนี้เพื่อให้พ่อแม่รู้สึกว่าเค้าอยู่ทีมเรา เป็นต้น ซึ่งมันก็คือจิตวิทยาการพูดกับผู้ใหญ่ มันคือจิตวิทยาทั้งหมด

หรืออย่าง Infant observation ที่เล่าไปตอนแรก ก็ต้องเขียนงานส่งทุกอาทิตย์ ว่าหลังจากเราไปสังเกตการณ์มาแล้ว เป็นอย่างไร เริ่มตั้งแต่ฉันเดินเข้าไปฉันรู้สึกอย่างนี้ สังเกตทุกอารมณ์ความรู้สึกของเรา เขียนทุกอย่างให้รู้ทันตัวเอง ว่าเรารู้สึกอะไร ทำไมทำแบบนี้ โดยก่อนที่เราจะได้ไปเจอเด็ก ทางมหาวิทยาลัยก็จะมีสัมมนาให้เรามาพูดว่า อาทิตย์นี้เรารู้สึกยังไงกับการเจอเด็กคนนี้ แล้วก็ให้เราเขียนทุกอย่าง ให้เราตระหนักรู้เหมือนเป็นการ reflex กับตัวเอง รู้ทันตัวเอง ว่าเราคิดอะไร รู้สึกอะไร ทำไมเราถึงรู้สึกแบบนี้ ลึก ๆ แล้วจริง ๆ เราอยากได้อะไร เป็นการวิเคราะห์ตัวเอง (scrutinize myself)

คอร์สนี้โดยรวมใช่อย่างที่เราคิดไว้ไหมคะ

Am: มันมากกว่าที่เราคิดไว้เยอะเลยค่ะ ไม่เหมือนป.โทที่ผ่านมา เข้มข้นกว่าที่หวังไว้ อาจจะด้วยเพราะเราเทียบกับป.โทใบที่แล้ว ว่ามันสบายกว่านี้ research เยอะก็จริง แต่ก็แค่ทำให้จบ วิจัยให้จบก็จบแล้ว แต่คอร์สนี้คือเราใช้ทั้งเวลาและพลังงานเยอะมากในการเปลี่ยนแปลงตัวเอง ไม่ใช่แค่การอ่านหนังสือให้จบ

จริง ๆ ตอนสัมภาษณ์เข้าเรียนคอร์สนี้อาจารย์บอกเราแล้วนะคะ ว่ามันเรียนหนักมาก intensive มาก แต่ตอนนั้นตอบอย่างมั่นใจว่าเราสู้ ไหวค่ะ (ยิ้ม) ตอนแรกยังคิดว่าสบาย ๆ เรียนจันทร์ – อังคาร แต่เอาจริงมันเหนื่อยมากค่ะ เข้าเรียนแล้วเรายังต้องไปหาเด็ก ไปหานักบำบัดของเรา และต้องไปโรงเรียน ตอนนี้เลิกพูดแล้วค่ะ หมดแรง (หัวเราะ)

ตอนแรกที่บ้านถามทำไมไม่ต่อ ป.เอก ไปเลย เรียนโทซ้ำซ้อนทำไม มาตราฐานความคิดคนไทยคือจบ ตรี โท เอก แต่ของเรา เราเริ่มจากเราอยากทำอะไร เราอยากทำงานกับเด็ก อะไรที่จะทำให้เราไปถึงตรงนั้น มันไม่ใช่การเรียนต่อป.เอก แต่มันคือการเรียนคอร์สนี้

รีวิว University of Roehampton

มหาวิทยาลัยมี Facility อะไรบ้าง

Am: ถ้าในห้องเรียนคือมีของเล่นเยอะ ทุกอย่าง เป็นโซน ๆ ส่วนเรื่องหนังสือก็อ่านออนไลน์เอาค่ะ จริง ๆ ที่ห้องสมุดก็มีที่สามารถยืมได้ มีห้อง study room ที่เราสามารถเข้าไปใช้ได้ แต่เราอยู่ไกลจากห้องสมุดของมหาวิทยาลัย เลยมีซื้อหนังสือเองบ้าง กับอ่านหนังสือเองที่ห้องค่ะ

ที่ University of Roehampton จะมี BOP คือ student union นี่แหละค่ะ เค้าก็จะมีจัดกิจกรรมอยู่ตลอด อย่างวันศุกร์ หรืองาน Christmas งาน Halloween เราก็สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ค่ะ

Career support ส่วนใหญ่ของหลักสูตรนี้จะเน้นเรื่อง Work placement ก่อนค่ะ จะมี Placement manager ที่ดูแลโดยเฉพาะ เค้าจะมีข้อมูลรายชื่อโรงเรียนที่อยู่ใกล้เรา ที่เราสามารถอีเมลไปขอข้อมูลได้

แล้วก็จะมี Nest ที่เป็น student support ของมหาวิทยาลัย มีปัญหาอะไรเราก็หา Nest ได้ ซึ่งคนทำงานให้ Nest ก็คือนักเรียน ถ้าอยากทำงาน part time เราก็สมัครได้

สนใจเรียนต่อ University of Roehampton ปรึกษาพี่ ๆ Hands On ฟรี คลิก

London เมืองหลวงของประเทศอังกฤษ

Am: คือแอมอยู่ Bristol มาก่อน เป็นเมืองเล็ก ๆ ทุกอย่าง 10 – 15 นาทีก็ถึง ไม่ต้องวางแผน ไปไหนก็ได้ พอมาอยู่ลอนดอนก็ต่างกันมาก ๆ city centre ที่นี่มันใหญ่ ไกลกันหมด บวกกับโซนที่เราอยู่คือ London Zone 6 เราอาจจะต้องวางแผนในการเดินทางหน่อยค่ะ คือมันมีทั้ง Tube, รถบัส, รถไฟ ที่มีค่าใช้จ่ายตามระยะทาง หรือสามารถซื้อบัตรรายเดือนได้ แต่แอมไม่ได้เดินทางบ่อยขนาดนั้น จ่ายเป็นครั้ง ๆ ก็จะมีราคาที่สูงกว่า

แต่แอมก็ชอบลอนดอนนะ มีอะไรให้ทำเยอะ แต่ถ้า Bristol คือมีแค่นั้นใน 10 – 15 นาทีที่บอก ถ้าเราอยากได้อะไรที่มากกว่านั้นต้องเปลี่ยนเมือง แต่ที่ลอนดอนมีอะไรใหม่ ๆ ตลอด และโซน 6 ที่เราอยู่ก็ได้โฟกัสการเรียน ต้นไม้เยอะ กระรอกเยอะ นกเยอะ คืนแรกที่มาถึงตื่นเช้ามาได้ยินเสียงนกจิ๊บ ๆ เหมือนอยู่เขาใหญ่ มันสวย เป็นธรรมชาติ หลังตึกเห็นพระอาทิตย์ตก เย็น ๆ ก็ชวนเพื่อนไปเดินเล่นหลังกินข่าว ได้ใช้ชีวิต slow life ใกล้ชิดธรรมชาติ อยู่ใกล้ Richmond Park มีน้องกวาง ถ้าเราอยู่ใจกลางลอนดอนจริง ๆ ก็ไม่ได้บรรยากาศแบบนี้

หมายเหตุ* conversion programme เป็นหลักสูตรเรียนต่อระดับปริญญาโทที่เปิดรับใบสมัครจากผู้ที่จบสาขาใดมาก็ได้ หรือไม่จำกัดสาขาวิชาที่ผู้สมัครจบการศึกษาในระดับปริญญาตรีมา เหมาะสำหรับน้อง ๆ ที่ต้องการเปลี่ยนสายเรียนต่อ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการวางแผนเรียนต่อต่างประเทศกับพี่ Hands On ฟรี

 

สนใจเรียนต่อ University of Roehampton หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ปรึกษาพี่ ๆ Hands On ตัวแทนมหาวิทยาลัยอย่างเป็นทางการประจำประเทศไทยฟรี เพียงกรอกแบบฟอร์มด้านล่าง

Enquiry Form

Please provide the following information and we will aim to respond within 48 hours:

Your details
Please enter your first name.
Please enter your last name.
Please enter a valid email address.
Please enter your phone number.
Please select a country you want to study.
Please select a year you want to study.
Please select your preferred branch.

* All fields required (in English)

  • Share this: