Question : ผลการทดสอบที่จำเป็นในการเรียนต่ออเมริกา?
Answer : English Language Examinations, Undergraduate Level Examinations, Graduate Level Examinations
English Language Examinations
- IELTS: การสอบวัดความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษทั้ง 4 ทักษะ คือ การฟัง การพูด การอ่านและการเขียน โดยคะแนนที่ผ่านเกณฑ์ของมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยส่วนใหญ่ คือ 5 หรือสูงกว่า ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของแต่ละมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยนั้น ๆ
- TOEFL: การสอบวัดความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษทั้ง 4 ทักษะ คือ การฟัง การพูด การอ่านและการเขียน จัดทำโดย Educational Testing Service (ETS) ประเทศอเมริกา ใช้สำหรับการศึกษาต่อในอเมริกา
Undergraduate Level Examinations
- SAT: การสอบวัดความถนัดการศึกษาทางด้าน written, verbal และ mathematical skills เป็นการสอบที่นักศึกษาต้องทำการสอบเพื่อสมัครเข้าเรียนระดับปริญญาตรีในวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัยในอเมริกา
Graduate Level Examinations
- GRE: การสอบวัดความถนัดการศึกษาทางด้าน verbal reasoning, quantitative reasoning, และ analytical writing for graduate-level study สำหรับผู้สมัครเข้าเรียนในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก เช่น สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี (Technology) วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering)
- GMAT: การสอบวัดความถนัดด้านการศึกษาสำหรับผู้สมัครเข้าเรียนสาขา MBA และ Business programs เพื่อวัดความสามารถทาง basic verbal, mathematical, analytical writing และ integrated reasoning skills
Question : เอกสารที่ใช้ในการสมัครมีอะไรบ้าง?
Answer : เอกสารประกอบการสมัครเรียนต่อมหาวิทยาลัยในอเมริกา ประกอบด้วย
- Application Online and Application Fee ใบสมัครและค่าสมัคร บางมหาวิทยาลัยจะงดเว้นค่าสมัคร ในกรณีที่สมัครผ่าน Hands On
- English Language Score (TOEFL or IELTS) หลักฐานคุณสมบัติความรู้ด้านภาษาอังกฤษ
- Standardize Test
- SAT/ACT สำหรับสมัครเรียนระดับปริญญาตรี
- GMAT/GRE สำหรับสมัครเรียนระดับปริญญาโท
- และในบางสาขาวิชา ต้องยื่นผลสอบเพิ่มเติม
- Academic Transcript ใบรับรองผลการเรียนจากโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายหรือมหาวิทยาลัย
*หมายเหตุ: บางมหาวิทยาลัยจะขอให้นักเรียนต่างชาติที่จบการศึกษานอกสหรัฐอเมริกา จะต้องทำการ Evaluation Transcript จากองค์กรของอเมริกา เช่น World Education Services (WES), Educational Credential Evaluators (ECE), National Association of Credential Evaluation Services (NACES) เป็นต้น ในขั้นตอนนี้มีค่าใช้จ่าย ผู้สมัครจะต้องดำเนินการด้วยตนเอง ถ้ามหาวิทยาลัยของผู้สมัครร้องขอ
- Certificate of completion หนังสือรับรองการทำงานแบบเปิดผนึกสำหรับยื่นสมัครเบื้องต้น
- Recommendation Letters จดหมายหรือเอกสารรับรองจากคุณครู, อาจารย์ หรือจากที่ทำงาน (สำหรับผู้สมัครที่มีประสบการณ์การทำงาน) อย่างน้อย 2-3 ฉบับ
- Personal Statement and Supplemental Essay (Topic required by University) จดหมายแนะนำตัวเองบอกเล่าถึงจุดประสงค์ เหตุผล และแรงจูงใจผู้สมัครที่สอดคล้องกับหลักสูตรที่สมัครเรียน ซึ่งจดหมายฉบับนี้จะเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่ทีม Admission Committee ของมหาวิทยาลัยพิจารณาใบสมัครของเรา
- Resume/CV ประวัติส่วนตัวโดยย่อที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับประสบการณ์ในการทำงานหรือข้อมูล อื่นๆ ที่ต้องการบอกเกี่ยวกับตัวของผู้สมัคร
- Professional certificate (if applicable) เอกสารการฝึกงาน หรือใบประกาศนียบัตรอื่นๆ
- Copy of passport photo page สำเนาหนังสือเดินทาง
- Declaration of Finances Form or Affidavit of Support เอกสารรับรองการเงินของผู้สนับสนุนทางการเงิน
- Bank statement, Bank letter หรือ scholarship letter โดยจะต้องแปลงหน่วยเงินบาท เป็น USD พร้อมระบุชื่อ ผู้สมัครเรียนและชื่อของผู้สนับสนุนทางการเงิน จำนวนเงินที่ระบุบในจดหมายต้องครอบคลุมทั้งค่าเรียนและค่าครองชีพตลอดหลักสูตร
Tips: เอกสารทั้งหมดควรจัดเตรียมเป็นภาษาอังกฤษอย่างเป็นทางการจากหน่วยงานราชการหรือเอกชน หากต้นฉบับเป็นภาษาไทยต้องนำไปแปลเป็นภาษาอังกฤษโดยมีหน่วยงานรับรอง และหากไม่สามารถส่งต้นฉบับไปได้ ต้องทำสำเนาและมีการรับรองอย่างถูกต้อง หรือปรึกษาพี่ ๆ Hands On Education Consultants เรื่องการเตรียมเอกสารได้ทุกขั้นตอน
Question : ผลการเรียนไม่ถึงเกณฑ์ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด?
Answer : หากผลการเรียนไม่ถึงเกณฑ์การรับสมัครตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด สามารถเข้าเรียนหลักสูตรปรับพื้นฐาน ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ผู้เรียนสามารถเก็บหน่วยกิจของชั้นปีที่ 1 ได้ขณะเรียน
- หลักสูตร pathway program หรือ International Year 1 สำหรับปรับพื้นฐานทางภาษาอังกฤษให้กับนักศึกษาต่างชาติเพื่อเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี ซึ่งเทียบเท่าชั้นปี 1 หลังจากที่เรียนจบสามารถเรียนต่อชั้นปี 2 ในระดับปริญญาตรีได้เลย
- หลักสูตร Pre-Master หรือ Graduate pathway สำหรับปรับพื้นฐานเพื่อศึกษาต่อระดับปริญญาโท เพิ่มทักษะให้นักศึกษาเข้าใจในระบบการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยในอเมริกามากขึ้น เตรียมความพร้อมในการสอบ GMAT/GRE รวมไปถึงการเก็บหน่วยกิตของหลักสูตรปริญญาโทที่นักศึกษาเลือกสมัครไปด้วย ดังนั้นถือว่า Pre-Master course หรือ Graduate pathway ช่วยเพิ่มศักยภาพในการเรียนต่อระดับปริญญาโทให้กับนักศึกษาไทยได้เป็นอย่างดี
Tips: น้อง ๆ สามารถปรึกษาทาง Hands On Education Consultants เพื่อเลือกคอร์สเรียนที่เหมาะสมกับตนเองได้
Question : วันเปิดรับสมัคร?
Answer : มหาวิทยาลัยชั้นนำในอเมริกามีกำหนดการเปิดรับสมัครเรียน ดังนี้
- Fall Intake: เปิดรับสมัครเดือน พฤศจิกายน – มกราคม
- Spring Intake: เปิดรับสมัครเดือน พฤษภาคม – เดือนสิงหาคม
มหาวิทยาลัยทั่วไปในอเมริกามีกำหนดการเปิดรับสมัครเรียน ดังนี้
- Fall Intake: เปิดรับสมัครเดือน ธันวาคม – พฤกษาคม
- Spring Intake: เปิดรับสมัครเดือน พฤษภาคม – เดือนตุลาคม
- Pathway Program: เปิดรับสมัครเดือน ตุลาคม – กรกฎาคม
Tips:
- น้อง ๆ ที่สมัครเรียนผ่าน Hands on Education เราจะมีพี่ๆ ทีมงานคอยช่วยติดตามและประสานงานกับทางมหาวิทยาลัยให้ฟรี
- ทาง Hands On Education Consultants แนะนำให้น้องๆ ยื่นใบสมัครเรียนให้เร็วที่สุด หากยังไม่มีผลการทดสอบภาษาอังกฤษ น้องๆ สามารถยื่นผลการทดสอบภาษาอังกฤษหลังจากนั้นได้ แต่จะส่งผลต่อระยะเวลาการพิจารณาเอกสาร
Question : ขั้นตอนหลังจากส่งใบสมัคร?
Answer : ทั้งนี้การพิจารณาใบสมัครเรียนและตอบรับเข้าเรียนนั้น หลังจากส่งเอกสารทั้งหมดแล้วมหาวิทยาลัยโดยปกติจะใช้เวลา 3-4 เดือนสำหรับ Direct admission และใช้เวลาประมาณ2 อาทิตย์ สำหรับ Pathway Program โดยสำหรับระดับปริญญาเอก ทางมหาวิทยาลัยจะใช้เวลาในการพิจารณานานกว่าทั้งสองแบบค่ะ
เมื่อพิจารณาเรียบร้อยทางมหาวิทยาลัยจะส่งผลการพิจารณาผ่านทางอีเมลของผู้สมัครโดยแบ่งออกเป็น 3 แบบดังนี้
- Unconditional Offer – การตอบรับเข้าเรียนแบบไม่มีเงื่อนไข
เมื่อได้รับการตอบรับจากมหาวิทยาลัยแต่ละแห่งที่สมัครไว้แบบ Unconditional Offer ผู้สมัครต้องสินใจเลือกข้อเสนอที่ต้องการ จากนั้นทำการ “ตอบรับ” ซึ่งกระบวนการในการตอบรับจะอยู่ในจดหมายที่มหาวิทยาลัยส่งมาให้
- Conditional Offer – การตอบรับเข้าเรียนแบบมีเงื่อนไขตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
ยกตัวอย่างเช่น ต้องส่งผลคะแนนวัดระดับภาษาใหม่ให้ถึงเกณฑ์ตามที่มหาวิทยาลัยระบุ เป็นต้น หลังจากที่ผู้สมัครสามารถทำตามเงื่อนไขที่มหาวิทยาลัยกำหนด มหาวิทยาลัยจะส่ง Unconditional Offer ตอบกลับมาเพื่อรับเข้าเรียน
*หมายเหตุ: ทั้งนี้ไม่ใช่ทุกมหาวิทยาลัยจะออกจดหมายตอบรับแบบมีเงื่อนไขได้
- Rejection – การปฎิเสธตอบรับเข้าเรียน
เมื่อตอบรับเข้าเรียนและดำเนินการส่งเอกสารทางการเงินเรียบร้อยแล้ว ผู้เข้าสมัครจะได้รับจดหมายตอบรับจากทางมหาวิทยาลัยอีกหนึ่งฉบับ คือ I-20 หรือ DS-2019 เพื่อเป็นข้อมูลในการกรอกใบสมัครยื่นขอวีซ่าต่อไป
Tips: พี่ ๆ Hands On จะช่วยให้คำแนะนำในขั้นตอนการยื่นขอวีซ่า สำหรับนักเรียนที่สมัครเรียนผ่านทาง Hands On Education Consultants ฟรี