7 เรื่องน่ารู้เมื่อไปเรียนต่อประเทศอังกฤษ

  • Share this:

รู้ไว้ไม่เสียหาย … ข้อมูลต่อไปนี้เป็นข้อมูลจากประสบการณ์โดยตรงของแตนที่คาร์ดิฟฟ์ ซึ่งบางอย่างมันอาจจะไม่ใช่ข้อมูลมาตรฐาน ดังนั้นอย่าเชื่อแตน 100% นะ ให้ติดต่อสอบถามข้อมูลกับสถานที่นั้นๆโดยตรงอีกที เพราะเค้าอาจจะมีการปรับเปลี่ยน/เปลี่ยนแปลง หรือบางที่ข้อมูลอาจจะไม่เหมือนกันก็ได้ค่ะ

 

1. เปิดบัญชีธนาคาร

khaotan blog8

การเปิดบัญชีที่ UK จะไม่ได้เปิดกันง่ายๆแบบที่เมืองไทย เพราะฉะนั้นเราควรที่จะ…..

หาข้อมูลจากเมืองไทยไปก่อนว่าเปิดบัญชีกับธนาคารไหนดี พอไปถึงที่ UK ให้ทำการตรวจสอบก่อนว่า มหาวิทยาลัยจะออกจดหมายสำหรับเปิดบัญชีธนาคารให้เมื่อไหร่ (บางทีมหาวิทยาลัยเค้าออกจดหมายให้แค่สองถึงสามธนาคารให้เราเลือก ดังนั้นเราควรมีลำดับธนาคารในใจมากกว่า 1 ที่ก็จะดีค่ะ) พอรู้ปุ๊บรีบไปจองคิวที่ธนาคารปั๊บ แล้วสอบถามหลักฐานที่ต้องใช้ในการเปิดบัญชี ถ้าใครมัวแต่ชักช้า รับรองว่าคิวจะยาวมากๆ เพราะเป็นช่วงที่ทุกคนต้องการจะเปิดบัญชี ทำให้คิวที่เราได้อาจจะนานเป็นเดือนเลย

การเปิดบัญชีก็จะมีแบบ account ทั่วไป กับบัญชีไว้เก็บเงิน แตนแนะนำว่าเปิด 2 บัญชีเลยค่ะ โดยบัญชีทั่วไปเราก็มีบัตร เอาไว้ใช้จ่าย ส่วนบัญชีเก็บเงินจะค่อนข้างปลอดภัย โอกาสโดนแฮคนี่ไม่มีเลย แถมยังได้ดอกเบี้ยสูงกว่าบัญชีปกติอีกด้วย โดยเวลาอยากใช้เงินก็ค่อยทำการโอนเงินจากบัญชีเก็บเงินเข้าบัญชีปกติก็ได้ค่ะ

*เมื่อเปิดบัญชีได้แล้ว ทำการโหลด Application ของธนาคารนั้นๆ ไว้ เพื่อเช็คยอดเงิน ถ้าเป็นไปได้พยายามเช็คยอดเงินทุกคืนว่าเราโดนหักอะไรไปโดยที่เราไม่ได้ใช้จ่ายรึเปล่า เพราะถ้าเราโดนแฮคหรือโดนตัดเงินไปแบบงงๆ ให้เรารีบติดต่อธนาคารเพื่อให้เค้าช่วยเหลือและคืนเงินให้เราได้ค่ะ

ปิดบัญชีหรือค้างบัญชีไว้ก่อนกลับไทยดีนะ

สำหรับคนที่บัตรเดบิตของธนาคารมีอายุยืนยาวไปอีกหลายปี และอยากคงบัญชีที่ UK ไว้ ก็สามารถคงบัญชีไว้ได้ค่ะ ทางธนาคารเค้าให้เราคงบัญชีไว้ได้ แม้ว่าวีซ่าเราจะหมดแล้วก็ตาม โดยเค้าจะให้เราคงบัญชีไว้สูงสุด 3 ปี ถ้าบัญชีไม่มีการเคลื่อนไหวเลยใน 3 ปีนี้เค้าก็จะติดต่อเราอีกทีค่ะ ดังนั้นก่อนกลับไทยก็ทำการเปลี่ยนที่อยู่ให้เรียบร้อยนะคะ แต่ทางที่ดีลองคุยกับเจ้าหน้าที่ธนาคารอีกทีก็ได้ค่ะ

 

2. ลงทะเบียนกับโรงพยาบาล

khaotan blog 8

การลงทะเบียนกับโรงพยาบาลให้เราทำการเลือกโรงพยาบาลที่ใกล้ที่พักเราที่สุด แล้วไปติดต่อขอลงทะเบียน สอบถามข้อมูลเค้าให้ดีว่าหลักฐานที่ใช้มีอะไรบ้าง อย่าสับสนเรื่องเลข NHS นะคะ เพราะหลายคนเข้าใจว่าใบเสร็จที่เราจ่ายเงินค่า NHS จากเมืองไทย ตัวเลขนั้นคือเลข NHS จริงๆ มันเป็นแค่หลักฐานการจ่ายตัง เวลาเค้าถามเราต้องบอกว่าเราเพิ่งลงทะเบียนเป็นครั้งแรก ยังไม่เคยมี

กรณีย้ายที่อยู่ อยากเปลี่ยนไปลงทะเบียนกับโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ที่พัก ให้เราสามารถทำการติดต่อโรงพยาบาลใหม่ได้เลย ไม่จำเป็นต้องกลับไปยกเลิกที่โรงพยาบาลเดิมค่ะ

 

3. ไปหาหมอฟัน

สำหรับใครที่จำเป็นต้องไปหาหมอฟันให้ลองติดต่อทันตกรรมของ NHS ไปก่อน เพราะราคาจะถูกกว่าคลีนิคทำฟันทั่วไป แต่ก็ใช้เวลาในการจองคิวนานพอสมควรค่ะ ดังนั้นเช็คสุขภาพฟันให้ดีก่อนเดินทางไปเรียนต่อจะดีที่สุดค่ะ เพราะค่าทำฟันที่นั่นก็ค่อนข้างโหดทีเดียว

khaotan blog 8

 

4. ทำเชงเก้นวีซ่า

การทำเชงเก้นวีซ่าไม่ว่าจะประเทศไหนก็ตาม พยายามเตรียมเอกสารให้ครบตามที่สถานฑูตนั้นๆ กำหนด โดยอ้างอิงจากเว็บไซด์ของสถานฑูตนั้นๆ ส่วนใหญ่ที่ติดปัญหานะคะก็คือเรื่องของระยะเวลาในการทำวีซ่า เช่น เพื่อนบอกทำของที่นี่ 3 วันได้ ซึ่งบางทีมันก็แล้วแต่ดวงและความโชคดีของแต่ละคนด้วยค่ะ ทางที่ดีพยายามเผื่อวันที่เราจะได้วีซ่าสัก 15 ก่อนการเดินทางจะดีมากค่ะ อีกเรื่องคือ statement บางคนขอ statement ในส่วนของบัญชีเก็บตัง ซึ่งสถานฑูตเค้าจะไม่ค่อยให้อะค่ะ ทางที่ดีปริ้นไปทั้งบัญชีเก็บเงินและบัญชีปกติเลยค่ะ โดยบัญชีปกติก็ควรมีจำนวนเงินตามที่สถานฑูตกำหนดค่ะ

กรณีขอวีซ่าเพื่อเดินทางไปเกี่ยวกับเรื่องการศึกษา จะไม่เสียค่าทำวีซ่าค่ะ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องมีจดหมายจากทางมหาวิทยาลัยนะคะ ว่าเราไปเพื่อการศึกษาจริงๆ

 

5. Emergency Contact

หลังจากลงทะเบียนเรียนกับทางมหาลัยแล้ว เค้าจะมีให้เราใส่ Emergency contact หรือแม้แต่เวลาเซ็นต์สัญญากับทางหอพัก เค้าก็มีให้เราใส่ค่ะ ซึ่งหลายคนจะเลือกพ่อแม่เป็น Emergency contact แต่สำหรับแตนนะคะ พ่อแม่แตนภาษาอังกฤษไม่ได้เลย กะว่าถ้าเกิดอะไรขึ้นทางมหาลัยโทรไป คงไม่รู้เรื่องแน่นอน แตนเลยเลือกพี่ที่สนิทกันเป็น Emergency contact เพราะพี่เค้าเก่งภาษาอังกฤษ ประกอบกับสนิทกันคุยกันทุกวัน แล้วเค้าก็รู้จักที่บ้านเรา ดังนั้นถ้าเกิดอะไรขึ้น เค้าสามารถรับเรื่องแล้วส่งต่อบอกทางที่บ้านเราได้แน่นอนค่ะ

นอกจากนี้นะคะ เราก็ควรเอาเบอร์มหาวิทยาลัย เบอร์หอพัก หรือเบอร์เพื่อนๆของเราทั้งคนไทยและคนต่างชาติ หรือไลน์ หรือเฟสบุ๊คก็ได้ ทิ้งไว้ให้ที่บ้านเรา เผื่อกรณีที่เค้าติดต่อเราไม่ได้ หรืออะไรก็แล้วแต่ เค้าจะได้ติดต่อเพื่อนเราได้

 

6. ใช้โซเชียลให้เป็นประโยชน์

เรียนต่อประเทศอังกฤษ

หลายๆ คนพอมาเรียนต่อแล้วก็อาจจะไปเที่ยวบ่อย อัพรูปลงบ่อย ซึ่งแตนมองว่าเป็นเรื่องที่ดีค่ะ อัพรูปแล้วก็อย่าลืมเช็คอินสถานที่ด้วย แท็กเพื่อนด้วยก็ดีค่ะ เผื่อกรณีฉุกเฉิน คนอื่นๆ จะได้รู้ว่าที่สุดท้ายที่เราไปคือที่ไหน ไปกับใคร จะได้ตามตัวได้ถูก หรือถ้าใครจะแอบหนีที่บ้านไปเที่ยว ไม่อยากลงรูป ก็บอกเพื่อนๆ หรือบอกใครที่ไว้ใจสักหน่อยก็ดีค่ะ เผื่อมันฉุกเฉิน เค้าจะได้ตามหาเราได้

 

7. ขอภาษีที่สนามบินก่อนบินกลับไทย

บางคนบอกว่าถ้าเป็นนักเรียนไม่สามารถขอ tax refund ได้ แต่ถ้าคอร์สเรียนเราจบแล้ว เรากำลังจะไม่ใช่นักเรียนแล้ว เราขอ tax refund ได้นะ โดยใบเสร็จในการขอภาษีต้องมีอายุไม่เกิน 3 เดือนนับตั้งแต่วันที่ซื้อของจนถึงวันที่ขอภาษีค่ะ ถ้าใครจะบินกลับไทยวันไหน วางแผนให้ดีๆ ชอปปิ้งก่อนกลับภายใน 3 เดือน เมื่อได้หลักฐานสำหรับการขอ tax refund แล้ว ก็ควรจะไปถึงสนามบินก่อนเวลาบินหลายๆ ชม. เลยค่ะ เพราะถ้าโชคดีช่วงนั้นคนไม่เยอะ คิวไม่ยาว เราก็จะได้ขอ tax refund คืนแบบสบายๆ แต่ถ้าเป็นช่วงที่คนเยอะอาจจะต้องรอนานมากๆๆๆๆ จนไม่เหลือเวลาชอปปิ้งในสนามบินค่ะ ตอนแตนขอ tax refund หลักฐานที่เค้าขอดูคือวันที่เราเข้าเรียนกับวันที่เราเรียนจบคอร์สค่ะ เค้าเช็คว่าเราเรียนจบแล้ว กำลังพ้นสภาพนักเรียนแล้ว แล้วจะไม่นำสินค้าที่ขอ tax refund กลับมา UK ภายในเร็วๆ นี้ (จำไม่ได้ว่าภายในกี่เดือน) อะไรประมาณนี้ค่ะ

 

ข้อมูลที่น่าสนใจโดยรวมก็ประมาณนี้ค่ะ ขอให้ทุกคนโชคดีกับการไปเรียนต่อที่ UK ค่า

Enquiry Form

Please provide the following information and we will aim to respond within 48 hours:

Your details
Please enter your first name.
Please enter your last name.
Please enter a valid email address.
Please enter your phone number.
Please select a country you want to study.
Please select a year you want to study.
Please select your preferred branch.

* All fields required (in English)

  • Share this: