ครั้งนี้รุ่นพี่อย่างน้องโบนัสจะมาแชร์ประสบการณ์หลังจากเรียนจบที่ Queen Mary University of London กับการกลับมารับราชการอยู่ที่กรมราชทัณฑ์ตามเงื่อนไขของนักเรียนทุน ก.พ. จะเป็นอย่างไร ติดตามได้ในบทความนี้ค่ะ
ส่วนน้องๆ คนไหนอยากอ่านรีวิวคอร์สเรียน Master of Law Criminal Justice เพิ่มเติม คลิกที่นี่
แนะนำตัวกันอีกสักรอบค่ะ
สวัสดีค่ะ ชื่อเล่นชื่อโบนัสค่ะ เรื่องที่ทำงานต้องอธิบายอย่างนี้ คือเราเป็นนักเรียนทุนก.พ. ประเภทบุคคลทั่วไป ระดับปริญญา ตามความต้องการของกรมราชทัณฑ์ประจำปี 2558 ให้ไปศึกษาด้าน Master of Law ค่ะ ก็จบ Master of Law Criminal Justice จาก Queen Mary University of London ค่ะ
ตอนนี้ก็กลับมารับราชการใช้ทุนมาตั้งแต่ปี 2561 สังกัดจริงๆ เป็นตำแหน่งนิติกร สังกัดกองกฎหมาย กรมราชทัณฑ์ แต่ตอนนี้มีคำสั่งให้มาช่วยราชการตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมาค่ะ ตอนนี้มาช่วยราชการอยู่ที่สำนักปลัดกระทรวงยุติธรรม กองการต่างประเทศค่ะ สโคปงานก็กว้างขึ้น ไม่ใช่แค่กฎหมายไทยอย่างเดียว เริ่มมีประสานงานกับต่างประเทศบ้าง ตอนนี้ก็มีรับผิดชอบงานด้านสิทธิมนุษยชนที่กระทรวงยุติธรรม รับผิดชอบประสานงานอยู่ค่ะ ก็ได้มีเข้าร่วมประชุมเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนบ้าง ก็ตั้งแต่มาอยู่ที่นี่ก็ได้ใช้สิ่งที่เรียนจากที่ Queen Mary ค่อนข้างเยอะกว่าเดิมมากๆ
เป็นอย่างไรบ้างคะ?
ตอนกลับมาจากเรียน ทำงาน 6 เดือนแรก Learning curve พุ่งขึ้นมาก ไม่ว่าจะด้วยเรื่องการแก้ปัญหา เรียนรู้งานจากนายเรา และการปรับตัวเข้ากับเพื่อนร่วมงานค่ะ สุดๆ ไปเลย (หัวเราะ)
การไปเรียนต่อแล้วกลับมามันก็เหมือนการติดปีกอ่ะเนอะ เหมือนคุณออกจากกล่องเดิมแล้วคุณไม่สามารถกลับเข้าไปได้อีกแล้ว เราจะรู้ตลอดว่ามันมีโลกข้างนอกนั่น หรือมาตรฐานที่เราทำอยู่มันดีได้มากกว่านี้ เราจะมีไม้บรรทัดใหม่ที่ไว้วัดมาตรฐานไม่ใช่อันเดิมที่เราเคยมีก่อนเราไป พอเราทำงานเราก็ยิ่งมีไม้บรรทัดมากขึ้นว่าพอเจอคนนี้นะเราใช้ไม้บรรทัดแบบนี้ไม่ได้ หรือกับเรื่องนี้มันใช้ไม้บรรทัดไม่ได้มันต้องใช้วงเวียนอะไรแบบนี้ ก็เป็นในแบบที่ตัวเองอยากจะเป็นมากที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ แล้วมันก็มีปัจจัยต่างๆ ที่เราควบคุมไม่ได้ ก็ถ้าวางไม่ได้ก็จะเครียดเลยต้องวาง (หัวเราะ)
คอร์สที่เราเรียนมา นำมาปรับใช้อย่างไรบ้างที่กองการต่างประเทศ
ประสบการณ์บวกเนื้อหาค่ะ เพราะจบ LLM Criminal Justice ก็จริงแต่วิชาเลือกเรียน Human rights of women ก็ตรงด้านสิทธิมนุษยชนมาก แล้วก็จะเก็ทเร็วมากๆ เวลาเห็นเรื่องอนุสัญญา บางอนุสัญญาเราอาจจะไม่เคยเห็นมาก่อน แต่เราจะเข้าใจโครงสร้าง เข้าใจความสัมพันธ์ของมันที่เรียกร้องให้รัฐฯ ทำตามในแง่มุมไหน ยังไงบ้าง แล้วก็ได้อินเนอร์จาก Queen Mary มาใช้เยอะเหมือนกันอย่างเช่น คลาสสิทธิมนุษยชน ทั้งห้องเรียนก็จะเป็นพวกมนุษย์สิทธิสตรีที่เยอะๆ อ่ะ ซึ่งเรายังไม่ใช่ถ้าเทียบกับพวกเค้า แต่เราก็จะได้ความกล้าในการเถียงกับชาวบ้านจากคลาสนั้นมา ก็ได้ประสบการณ์มาเยอะจากการเรียนที่นั่นค่ะ
ตอนอยู่กองกฎหมายกรมราชทัณฑ์จะใช้ในแง่ทฤษฎี มันจะเป็นแนววิชาการมากกว่า ถ้าถามว่าตอนนั้นได้ใช้มั้ย ก็ได้ใช้ค่ะ ตอนอยู่กองกฎหมายกรมราชทัณฑ์มันก็ดีมากอยู่แล้วนะ แต่พอเราได้การทาบทามให้ไปลองอะไรใหม่ๆ ก็เลยโอเคมาลอง ตรงนี้ก็เลยเหมือนเป็นการได้ใช้อีกมุมนึงของที่เรียนมาค่ะ ก็อย่างที่บอกก็เป็นเรื่องระหว่างประเทศมากขึ้น สนุกขึ้นมั้ยก็สนุกขึ้น แต่ในทางกลับกันก็เหนื่อยขึ้นด้วยค่ะ (ยิ้ม)
LLM Criminal Justice ที่ Queen Mary University of London
ต้องบอกว่า Queen Mary University of London เนี่ย คือนิยามของคำว่า “ทันโลก ทันเหตุการณ์” มากจริงๆ ค่ะ ในแง่ของเนื้อหานะคะ
รีเฟรชเนื้อหากันนิดนึงว่าอะไรเรียนแล้วได้เอามาปรับใช้ในปัจจุบัน
Criminal Justice and Surveillance Technologies
จริงๆ อาจจะเป็นจังหวะที่ประจวบเหมาะด้วยแหล่ะ ที่ลงเรียน Criminal Justice and Surveillance Technologies มันจะพูดถึงเรื่อง Privacy law เรื่องรัฐฯเนี่ยเข้ามาตรวจตราเอกชนอย่างเรายังไงบ้าง ซึ่งอาจารย์ที่สอนเค้าก็จบกฎหมายมาเหมือนกัน เค้าก็จะรู้ลึกรู้จริง ซึ่งตอนนั้นที่กลับมาไทยแล้วช่วงนั้นประเทศไทยกำลังดันเรื่องกฎหมาย Cyber security ก็กลับมาอาจจะไม่ได้งานตรง แต่ตอนนั้นเราก็สามารถแจ้งคนรอบข้างเราได้ว่ามีอะไรในกฎหมายฉบับนี้ ที่มันน่าผิดแปลกแตกต่างจากหลักการที่มันควรจะเป็น มันแก้อะไรได้บ้าง ณ ตอนนั้นโบเขียน essay วิจารณ์กฎหมายฉบับที่มันเป็นร่างอยู่ด้วยซ้ำ ตอนนี้เขียนวิจารณ์ไปเสร็จเค้าฟังหรือไม่ฟังเรามันก็อีกเรื่อง ก็ถือว่าเราได้ทำหน้าที่ทางวิชาการของเราไปแล้ว
Human rights of women
มีอะไรอีก มี Human rights of women จริงๆ ตั้งใจเรียนด้วยเหตุผลที่ว่าก็สนใจสิทธิด้านผู้หญิงมาตั้งแต่เรียนจบป.ตรี ใหม่ๆ แล้ว ก็ด้วยความบังเอิญอีกที่มาทำงานในกระทรวงยุติธรรมในยุคที่โครงการของสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา (พระองค์ภา) เรื่องผู้หญิงในเรือนจำ ก็เลยได้ใช้ความรู้ที่เราเรียนมามาช่วยอยู่ระดับนึงค่ะ
Punishment in England 1750-1950
แล้วก็มีเรียนอะไรอีกนะ มี Punishment in England 1750-1950 ซึ่งอันนี้เพิ่งไปค้นเจอมาว่ามีหลังจากโบเรียนจบปีนึงก็ไม่ได้สอน เหมือนเค้าไม่ได้มีสอนทุกปีค่ะ ทั้งห้องตอนนั้นมีเรียนอยู่แค่ 3 คนค่ะ อาจารย์ก็บอกว่าคลาสนี้เป็นคลาสที่ใช้ทรัพยากรเปลืองที่สุด เพราะเปิดห้องแล้วสอนนักศึกษาอยู่แค่ 3 คนอ่ะ (หัวเราะ) ซึ่งเป็นนักเรียนทุนก.พ. 2 คน แล้วก็เป็นนักเรียนทุน Chevening จาก Mexico 1 คน เป็นนักกฎหมายอาญากันหมดเลย
จำได้ว่าคลาสนั้นโบนัสบอกว่าเครียดมาก เพราะเพื่อนเก่งมาก
เก่งมากกกก เพื่อนที่เป็นคน Mexico เนี่ยเก่งมาก อีก 2 คนที่เป็นนักเรียนทุนไทยนี่นั่งอยู่ในห้องแล้วบอกว่า “XXเอ๊ยยย เราทำอะไรอยู่เนี่ย” (หัวเราะ) อาจารย์เค้าก็จะมอบหัวข้อให้แล้วไปพรีเซนต์พูดโน่นนี่ ซึ่งเพื่อนคน Mexico คือเป็นอาจารย์ได้แล้วอ่ะ ส่วน 2 คนไทยก็ถามอาจารย์ตลอดว่าที่หามาเนี่ยถูกมั้ย ก็ตลกดี ซึ่งเช็คคะแนนในคลาสแล้วเพื่อนคนนั้นก็เอาเกียรตินิยมไปเหอะ เดี๋ยวฉันเป็นแพลงตอนให้เธอกินก็ได้ คือถือว่าวิชานี้ก็ได้ใช้เยอะเพราะกลับมาแล้วมันตรงกับกรมราชทัณฑ์ ซึ่งเราจะบอกได้ว่าทางเลือกอื่นนอกจากการจำคุกที่อังกฤษเค้าทำอะไรมาแล้ว ดีมั้ยหรือล้มเหลว หรือมันมีอะไรยังไงที่เรารู้สึกว่ามันน่าจะใช้ได้กับที่ไทย ก็เป็นตัวอย่างที่เราได้เรียนมาในคลาสค่ะ
International Criminal Law
International Criminal Law น่าจะเป็นอะไรที่ไกลตัวที่สุดในทุกอันที่พูดมา เพราะว่ามันคือกฎหมายอาญาระหว่างประเทศ แล้วอะไรบ้างที่เป็นอาญาระหว่างประเทศที่นับว่าเป็นความผิดอาญาซึ่งอาจจะไม่ได้ใช้กับไทย เพราะไทยเองก็ไม่ได้เป็นภาคีด้วยค่ะ ก็เลยน่าจะใช้น้อยที่สุดในบรรดาทุกวิชาที่เรียน กล้าพูดว่าไม่มีอะไรใช้ตรงๆ เลย แต่ก็จะได้เรื่องวัตถุประสงค์ของความผิดทางอาญาบางอย่าง อาจจะได้ความคิดตรงนั้นมาใช้ในการทำงาน ก็คุยกันเข้าใจมากขึ้นกับศัพท์บางคำที่นักการทูตพูด ที่ทำก็จะมีเรื่องการส่งผู้ร้ายข้ามแดน ที่กระทรวงยุติธรรมไปเกี่ยวพันบ้าง ซึ่งถ้าเราไม่ได้เรียนมาเวลานักการทูตพูดปุ๊ปเราอาจจะต้องมานั่งคิดว่าใช่หรือเปล่านะ แต่นี่ไม่ต้องแล้วเราก็จะเข้าใจ นี่ก็เป็น 4 ตัวค่ะที่เรียน
จริงๆ ก็ได้ใช้ทั้งหมดนะ
ใช้ทั้งหมดค่ะ มากน้อยคืออีกเรื่องนึง ประมาณนี้ค่ะ มีความรีวิวลึกเนอะ Queen Mary จะต้องรักเรา (ยิ้ม)
สนใจเรียนต่อ Queen Mary University of London ลงทะเบียนเพื่อรับข้อมูลเรียนต่อและคำปรึกษาฟรี คลิก
Queen Mary University of London
รีวิว Facilities ในมหาวิทยาลัยบ้าง
Bonus: มีข้อเสียก็คือตอนโบอยู่ ตึก Graduated ยังสร้างไม่เสร็จ นับเป็นเรื่องดีค่ะที่เค้าให้ความสำคัญกับพวกที่เรียนจบแล้ว ข้อดีก็คือ facilities ในหอพักมหาวิทยาลัยก็ดีค่ะ น่าจะเป็นมหาวิทยาลัยเดียวในลอนดอนที่มีแคมปัสและมีหอพักในแคมปัสตัวเองอย่างเป็นเรื่องเป็นราว ถ้าเป็นคนตื่นสายก็แนะนำให้อยู่หอในค่ะ
กิจกรรมนอกห้องเรียน
โปรแกรมที่แต่ละสาขาเค้าก็จะมี representative เป็นของตัวเอง ซึ่งของโบโชคดีมาก representative เค้าสู้มาก มีพาไป Supreme Court รอบนึง แล้วอีกรอบนึงด้วยความที่หนึ่งในฝรั่งที่เรียนกับเราเป็นอดีตผู้คุมเรือนจำ เค้าก็เลยจัดการให้แล้วพาไป Supreme Court แต่ก็มีความยุ่งยากอยู่เพราะต้องส่งรายละเอียด passport ให้เค้าเช็คก่อนที่จะเข้า ถือว่าโชคดีมากค่ะ
อ้อลืม! ที่บอกว่าได้ใช้ในงานก็มีตอนต้นปีมกราคมที่ผ่านมา มีได้ตามนายที่เป็นผู้เชี่ยวชาญของกรมราชทัณฑ์ ไปงาน ACA Winter Conference ที่สหรัฐอเมริกา ก็ได้ไปเห็นเพิ่มมาอีกคุกนึง ก็เป็นคนที่มีดวงสัมพันธ์กับคุกอีกแล้ว (หัวเราะ) ก็ได้ใช้ความรู้ด้าน punishment โน่นนี่ได้คุยกับผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศอยู่บ้าง ก็ได้เล่าว่าได้ไปดูคุกที่อังกฤษมา ซึ่งเราก็เด็กมากในบรรดาคคนที่ไปเพราะเราตามนายไป ที่เหลือเค้าก็มีอายุกันหน่อย พวกเค้าก็บอกว่ามันพิเศษมากเลยนะที่เด็กขนาดนี้แล้วได้มางานแบบนี้ ก็ตลกดีสนุกดีค่ะ ก็เป็นประสบการณ์ของเรา
ไปมาหลายคุกแล้ว เป็นอย่างไรบ้างคะ?
มันจะได้เรื่องมุมมองค่ะ ว่าอะไรที่มันควรจะเหมาะกับคุกไทย หรือมาตรฐานอะไรที่ไม่ได้เพราะทั่วโลกเค้าไม่ทำกัน แต่อย่างคุกไทยก็มีดีหลายอย่างมากๆ นะ เช่น เรื่องให้โอกาส การฝึกอาชีพอะไรแบบนี้ คืออย่างเมืองนอกถ้าไม่ใช่คุกที่เป็นเรื่องความมั่นคงสูงเนี่ย ก็แค่อยู่ในคุก ไม่ได้มีอะไรที่จะก่อให้เกิดประโยชน์หลังจากที่เข้าไปอยู่ในคุก แต่ในเรือนจำไทยเรามีแนวคิดว่าเราต้องฝึกอาชีพ เราต้องบำบัดเค้า รู้สึกว่าคนพวกนี้เค้าเข้าไปด้วยความด้อยโอกาสของตัวเค้าด้วย และเพื่อไม่ให้มีโอกาสในการกลับมาในการทำความผิดน้อยมากๆ เราก็ต้องให้อาชีพกับเค้า ซึ่งอันนี้ไม่ได้โทษว่าที่อื่นดีหรือไม่ดี แต่เพียงแต่ว่าคนมันคือผลผลิตของสังคม ดังนั้นคนแต่ละที่มันไม่เหมือนกันอยู่แล้วแน่ๆ ดังนั้นวิธีการที่เราใช้ลงโทษเค้า ของที่อังกฤษอาจจะไม่ได้เหมาะกับที่นี่ อย่างน้อยสิ่งที่เราเรียนรู้ก็คือมาตรฐานคุณภาพชีวิตที่มันควรจะเป็นมันจะประมาณไหน ก็ได้มาระดับนึงเหมือนกันค่ะ
แล้วการที่เราไปดูแล้วเห็นว่าของคนไทยมีการให้อภัยเยอะ แบบนี้มันทำให้เห็นมั้ยว่าคนไทยจะก่อคดีได้ง่ายขึ้นกว่าที่ต่างประเทศ
จะบอกว่าเรื่องอภัยโทษเนี่ยมันเป็นเอกลักษณ์ของประเทศไทย ประเทศอื่นก็น่าจะมีเหมือนกันที่ปกครองโดยกษัตริย์ แต่ถ้าถามว่าอะไรที่โด่งดังในไทยก็ใช่อันนี้แหล่ะ ถามว่ามันส่งผลกระทบมั้ย อันนี้พูดในทางวิชาการเนอะเพราะไม่ก้าวล่วงพระราชอำนาจ มันก็ทำให้ความมั่นคงของกฎหมายสั่นคลอนลงนิดนึงในความคิดเห็นเรา แต่ในอีกมุมมองนึงของนักกฎหมายหลายๆ คนก็มองว่ามันเป็นอีกช่องทางนึงด้วยซ้ำ ในการมาพินิจพิจารณาอีกรอบในกระบวนการยุติธรรมที่ทำไปมันโอเคหรือเปล่า มันโปร่งใส มันใช่ มันถูกตัวหรือเปล่า ก็ให้พระมหากษัตริย์มีพระราชอำนาจตัดสินอีกทีว่ามันอาจจะไม่ควรประหาร มันอาจจะควรออกไปอยู่ในคุกอะไรแบบนี้ค่ะ มันก็ต่างมุมมองค่ะ อันนี้ก็เป็นมุมมองทางวิชาการประมาณนี้ค่ะ
อย่าง topic นี้เราได้แชร์ความเห็นในคลาสเรียนมั้ย
แชร์ค่ะ อันนี้อาจารย์พูดถึงตอน International Criminal Law จำได้ว่า mention ไทยมานิดนึง ก็พูดถึงเรื่องการอภัยโทษและความมั่นคงของคำพิพากษา ตอนนั้นก็มีคนไทย 2 คน แล้วก็มีเพื่อนเอเชียอีกคนนึง แล้วก็นั่งแบบไม่พูดดีกว่า (หัวเราะ) แต่ตอนนั้นที่ไม่ได้กล้าพูดมากเพราะว่ายังเด็กมาก แล้วก็ยังไม่ได้กลับมาทำงาน เรายังไม่มีประสบการณ์ตรง หรือข้อมูลเท่าทุกวันนี้ค่ะ
การบริการจาก Hands On Education Consultants
รีวิว Hands On บ้าง
โอ๊ย ช่วยเหลือเยอะแยะค่ะ คือจะบอกว่าโบนัสน่าจะเป็นเคสที่พี่แฮคน่าจะปวดหัวมาก เพราะว่าน่าจะเป็นความผิดพลาดของระบบเรื่องการจองหอ ตอนแรกก็จองไปทั้งช่วง Summer และเปิดเทอม แล้วก็เปลี่ยนใจว่าแบบ Summer ยังอยู่หอ แต่เดี๋ยวเปิดเทอมจะไปหาใหม่เองก็เลยยกเลิกหอช่วงเปิดเทอมไป ก็ย้ำชัดเจนกับพี่แฮค ซึ่งพี่แฮคก็แจ้งทางมหาวิทยาลัยให้ แต่ยังไงไม่รู้พอบินไปถึง ทาง Unite student เข้าใจผิด ยกเลิกหมดเลย! แล้วโกรธมากคือเค้าส่งเงินคือเป็นเช็ค (cheque) กลับมาไทย ซึ่งตอนเราโอนเงินเรายังโอนเงินผ่านบัญชีธนาคาร แล้วทำไมไม่โอนคืนกลับมาาาาา… ตอนนั้นโกรธแบบโกรธมาก แล้วดันมายกเลิกหอเราอีก ก็เสียความรู้สึกอีก ก็เลยไม่เอาแล้วไปอยู่กับคุณน้าก่อน ก็ลำบากลำบนเรื่องที่อยู่แล้วพี่แฮคก็คอยช่วยประสานงานให้ แล้วก็ช่วยด่า Unite ให้ (หัวเราะ) ก่อนบินมาพี่แฮคก็ช่วยเลือกมหาวิทยาลัยให้ จริงๆ ก็ลิสต์มาเยอะนะเพราะว่ายื่นฟรีเราก็ยื่นอ่ะเนอะ แล้วค่อยมาเลือกอีกทีว่าจะเอาที่ไหน จริงๆ ก็ได้หลายที่อยู่แหล่ะแต่ว่าก็เลือก London เพราะว่าเป็นสาว city girl (หัวเราะ) ก็เป็นประสบการณ์ที่โอเค จริงๆ คนไปเรียน London ต้องเป็นคนสู้นิดนึงอ่ะ แต่ก็ไม่ได้สู้มากนะคือถ้าอยู่กรุงเทพได้ทุกที่ก็อยู่ได้ นอกจากนี้โบก็มียื่นเองด้วยที่อื่นด้วย แล้วมันมีปัญหาตรงที่ทาง กพ. ไม่ให้โบไปเพราะมันต้องไปเรียน Pre-sessional ก็เลยไป Queen Mary University of London ค่ะ ก็ลองส่งหลักสูตรให้เค้าดูแล้วเค้าโอเค โบก็เลยตัดสินใจเลือกที่นี่ แล้วตอนนั้นมันเหลือเป็นวันสุดท้ายแล้วที่ต้องยื่น ก็ถามพี่แฮคว่าทันมั้ย โบจะไป 9 weeks เนี่ย พี่แฮคก็เลยรีบยื่นให้ แล้วโบก็อยากลองสอบ IELTS รอบสุดท้ายแล้วเผื่อมันจะได้ Unconditional offer ไง แต่มันก็เกือบจริงๆ อ่ะพี่มันติด Writing สุดท้ายก็เลยตัดสินใจยื่นผลสอบ IELTS UKVI อันเก่า ก็ได้ทันเวลา เกือบไม่ทันตรงที่ทุกอย่างมันเร่งมาก แล้วมันไม่ใช่ทุนเราเอง มันต้องประสานงานกับทาง กพ. ตอนนั้นโบบินไปช้าด้วย เค้าเปิดคอร์ส Pre-sessional ไป 2-3 วันแล้วอ่ะแล้วเราค่อยไป ที่ Queen Mary เค้าก็มีข้อดีตรงที่เค้าจะบอกเลยว่าสามารถบินไปช้าสุดได้เมื่อไหร่ สัปดาห์แรกไม่ควรเกินวันที่เท่านี้นะ ไม่งั้นไม่รับแล้วนะ เค้าก็มีแจ้งหมดค่ะ
ถ้าตอนนั้นไม่มี Hands On ทำยังไง
ถ้าไม่มี Hands On ก็ตายสิคะ (หัวเราะ) ก็คงไม่รู้ deadline ไม่ได้เช็คเองเลย เพราะตอนนั้นก็ทำงานด้วย
คำถามสุดท้าย มีอะไรอยากแนะนำน้องๆ ที่เค้าสนใจอยากไปเรียน
ไปสอบ IELTS ค่ะ เอาให้มันตรงกับสิ่งที่เราจะไปเรียนว่าต้องเตรียมตัวแค่ไหน ภาษาอังกฤษมันฝึกได้ทุกวันอยู่แล้ว เราก็ไม่ใช่คนภาษาอังกฤษดีเพราะเราห่วย Writing มาก ก็อยากให้เตรียมตัวให้ดีเพราะว่าพอไปเรียนแล้วเราจะได้เนื้อหาที่มันควรจะได้ จ่ายค่าเทอมแล้วก็ต้องให้คุ้มอ่ะ ไม่ใช่ไปถึงแล้วมีอุปสรรคด้านภาษาก็เสียเวลาไปอีกเดือน 2 เดือนอีก ถ้าจะให้เตรียมก็อยากให้เตรียมภาษาก่อน ถ้ามีเวลา มีงบ มีทุน ก็ค่อยๆ สอบ IELTS ไปเรื่อยๆ ด้านเนื้อหาก็เลือกที่ใช่ ต้องถามว่าตัวเองชอบอะไร อยากเรียนอะไร แล้วถ้าเป็นคนจริงจังกับ lifestyle ก็เลือกเมืองด้วย ก็ต้องดูเยอะเหมือนกัน ถ้ามีปัญหาสุขภาพก็เคลียร์ตัวเองก่อนที่จะไป ไม่ใช่ไปแล้วมีปัญหาที่โน่นค่ะ (ยิ้ม)
สนใจเรียนต่อ Queen Mary University of London ลงทะเบียนเพื่อรับข้อมูลเรียนต่อและคำปรึกษาฟรี คลิก