Supply Chain and Logistics
เรียนต่อ Supply Chain and Logistics สาขาวิชานี้อธิบายตรงตัวหรือด้วยคำสั้น ๆ อาจจะอธิบายได้ยากสักหน่อย ถ้าแปลตรงตัวคือ สาขาวิชาห่วงโซ่อุปทาน แต่หากเรียกให้เต็มยศก็คงจะเป็น การจัดการผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมตลอดกระบวนการ เพราะสาขานี้จะสอนทฤษฎีเกี่ยวกับการควบคุมประสิทธิภาพของทุกกระบวนการตั้งแต่ก่อนการผลิต ซึ่งเป็นงานในระดับอุตสาหกรรมทุกระดับ ตั้งแต่การทำงานในกระบวนการจัดซื้อ/จัดหาวัตถุดิบ (Procurement), การบริหารต้นทุน (Budget Management), การวางแผนการผลิต (Production Planning), การผลิตสินค้า/นำเข้า (Manufacturing), การจัดเก็บคลังสินค้า (Storage), การวิเคราะห์ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology), การจัดจำหน่าย (Distribution) ไปจนถึงการปล่อยสินค้าออกสู่ตลาด (Transportation) ที่นำมาซึ่งการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า (Customer Relation)
การเรียนต่อ Supply Chain and Logistics จะช่วยให้นักศึกษาเห็นภาพและวัฎจักรการทำงานของอุตสาหกรรม ตั้งแต่การเลือกวัตถุดิบมาผลิตสินค้าในทุกทุกขั้นตอน และเมื่อได้เห็นผังภาพและเข้าใจระบบการทำงานเหล่านี้แล้ว นักศึกษาจะสามารถเข้าใจถึงการบริหารและจัดการต้นทุน เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ได้ปริมาณและคุณภาพระดับมาตรฐาน ในขณะเดียวกันก็สามารถนำข้อมูลเบื้องหลังการผลิตที่ว่านี้มาจัดหาวิธีการลดต้นทุนต่าง ๆ อาจหากระบวนการทำงานที่ได้ประสิทธิภาพมากกว่ามาใช้แทนกำลังคน เพื่อลดต้นทุน หรือมีอีกหลายกรณีและแผนงานที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในแต่ละโรงงานอุตสาหกรรม ปัจจัยในการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ นั้นขึ้นอยู่กับการตัดสินใจขององค์กรและผลจากการเก็บสถิติของทุกกระบวนการที่นักศึกษาต้องเรียน
โครงสร้างหลักสูตร Supply Chain and Logistics
คอร์สเรียนต่อ Supply Chain and Logistics จะใช้ระยะเวลาเรียนเป็น 1-2 ปี โดยระหว่างเรียนผู้เรียนจะได้ฝึกทักษะการทำงานที่เกี่ยวข้องหลายด้าน ทักษะวิชาชีพที่จะได้รับจากการเรียนต่อ Supply Chain and Logistics มีทั้งการ ทักษะการวิเคราะห์และวิจัยข้อมูล, การต่อรอง, การวางแผน, การแก้ไขปัญหา และการตัดสินใจภายใต้ภาวะที่กระบวนการทำงานของอุตสาหกรรมจะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง สาขาเรียนนี้จึงจะมีแบบฝึกหัดในชั้นเรียน และ case-study มากมายให้ผู้เรียนได้ทำความเข้าใจ และฝึกคิดฝึกวางแผนในขอบเขตงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด แต่ทั้งนี้งานในอุตสาหกรรม Supply Chain and Logistics ก็มีหลายแผนกให้เข้าไปทำงานได้ ผู้เรียนอาจต้องเก็บทักษะการทำงานที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งงานของตัวเองตั้งแต่เนิ่น ๆ เมื่อเรารู้ว่าเราต้องทำงานในส่วนใดของอุตสาหกรรมที่ว่านี้ด้วย
ตัวอย่างรายชื่อหลักสูตรการศึกษา Supply Chain and Logistics
- Master of Science in Logistics
- International Trade and Logistics
- International Shipping and Finance
- Supply Chain Management
- Transport and Supply Chain Management
- Global Supply Chain Management
- Global Logistics
- International Shipping and Logistics
- Management – Operation and Supply Chain Management
- Retail Management
- Supply Chain Design
- Supply Chain Technology and Systems
แนวทางอาชีพหลังจบการศึกษา
การทำงานหลังจบการศึกษาจากสาขา Supply Chain and Logistics ต้องการคนเข้าสายงานในหลายตำแหน่ง เพื่อให้สายพานของงานแต่ละกระบวนการเดินไปได้อย่างราบรื่น ซึ่งแต่ละฝ่ายจะต้องร่วมมือกันดูแลจัดการสัดส่วนงานของตัวเองให้ดี เพื่อส่งต่องานให้ขั้นตอนงานลำดับต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพ และการเรียนต่อ Supply Chain and Logistics จะช่วยให้นักศึกษาเข้าใจและสามารถทำงานในทุกแผนกในสายงานนี้ได้ รวมถึงเข้าใจในระดับการจัดการโครงสร้างด้วย
- Supply Chain: Design, Planning, Analyst, Coordinator, Manager, etc.
- Operations Manager, Manufacturing Manager and Production Manager
- Forecasting / Planning: Expeditor, Production Planner, Demand Planning Manager, etc.
- Purchasing / Procurement: Purchasing Coordinator, Buyer, Procurement Manager, etc.
- Logistics: Officer, Coordinator, Engineer, etc.
- Transport: Coordinator, Manager, Planner, etc.
- Inventory Management: Planner, Manager and Audit Manager
- Warehousing & Distribution: Manager, Shift Manager, Process Engineer, etc.
- Customer Service: Manager, Engineer and Executive
- Distribution Network Design and Planning
สนใจเรียนต่อ Supply Chain and Logistics ปรึกษาทุกเรื่องเรียนต่อต่างประเทศ กับพี่ ๆ Hands On ฟรี
เปิดบริการ 6 สาขาทั่วประเทศไทย คือ สีลม (สำนักงานใหญ่), สุขุมวิท, ปิ่นเกล้า, พระราม 2, พระราม 9 และเชียงใหม่
Line : @handson
Facebook : www.facebook.com/HandsOnEdu
Tel : 02 635 5230
หรือกรอกแบบฟอร์มด้านล่าง