อยากเรียนต่อต่างประเทศ แต่กลัวเป็นโรคโฮมซิก ควรเตรียมตัวยังไงดี?
Homesick (โฮมซิก) คืออะไร ทำไมน้อง ๆ หลายคนที่ไปเรียนต่อต่างประเทศเป็นกันเยอะ
เพราะภาษาอังกฤษมีความสำคัญมากสำหรับความก้าวหน้าในการทำงาน และเสมือนเป็นใบเบิกทางให้คุณได้รับโอกาสดี ๆ เหนือกว่าคนทั่วไป… จึงไม่แปลกอะไร ที่ยุคสมัยหนึ่งพ่อแม่ปู่ย่าตายายจะผลักดันลูกหลานในครอบครัว ให้เรียนภาษาอังกฤษเก่ง ๆ สนับสนุนให้เรียนภาษาเสริมจากชั่วโมงเรียนปกติ ไปจนถึงการส่งลูกหลานไปเรียนต่อต่างประเทศกับเจ้าของภาษา
ยิ่งในปัจจุบันการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษให้ดีมากกว่าการสื่อสารทั่วไป จะช่วยให้คุณสามารถเติบโตในหน้าที่การงานได้ จึงทำให้ภาษาอังกฤษยิ่งเพิ่มความจำเป็นมากยิ่งขึ้น การมีวุฒิการศึกษาในระดับปริญญาจากต่างประเทศก็เริ่มเป็นสิ่งที่องค์กรใหญ่ ๆ ต้องการ เพราะเป็นสิ่งที่บ่งบอกว่าคุณมีทักษะภาษาอังกฤษที่อยู่ในขั้นดีมาก ที่สามารถใช้ภาษาอังกฤษติดต่อสื่อสารในเชิงธุรกิจและการทำงานกับชาวต่างชาติได้สบาย ๆ ฉะนั้น หลายคนที่รักความก้าวหน้าในการทำงาน จึงขวนขวายหาทางไปเรียนต่อ ป.โท ต่างประเทศ เพื่อเพิ่มทักษะและคุณสมบัติของตัวเองสำหรับความก้าวหน้าในอนาคต แต่การไปอยู่ต่างที่ต่างถิ่นและต่างภาษาเป็นเวลานาน ๆ ก็คงต้องมีความคิดถึงบ้าน คิดถึงครอบครัวและเพื่อน ๆ อยู่ไม่น้อย ยิ่งถ้าได้ลองถามประสบกาณ์จากรุ่นพี่ ญาติหรือเพื่อน ๆ ที่เคยได้ไปเรียนต่อต่างประเทศแล้วก็น่าจะได้ยินเสียงบ่นอุบว่าคิดถึงบ้าน หลายคนถึงกับร้องไห้ทุกวัน แบบที่หลายคนเรียกว่า “โรคโฮมซิก” เพราะการต้องไปอยู่ต่างประเทศ ต้องใช้ทั้งความพยายามและความอดทนมากขึ้น ทั้งในเรื่องการสื่อสารภาษาต่างประเทศ การเรียนและใช้ชีวิตประจำวัน หรือการทำความรู้จักกับเพื่อนใหม่ต่างชาติ การไปอยู่ในอะพาร์ตเมนต์ที่ต้องแชร์ห้องร่วมกับคนอื่น ก็อาจจะต้องเกิดความไม่คุ้นชินกับวัฒนธรรมต่าง ๆ เป็นต้น
บทความนี้พี่ ๆ Hands On จึงขอนำเสนอแนวทางการเตรียมตัวและวิธีแก้โรคโฮมซิกให้กับน้อง ๆ ที่กำลังจะตัดสินใจไปเรียนภาษาหรือเรียนต่อ ป.โท ต่างประเทศ แต่อาจจะกำลังลังเลและกังวลปัญหาเรื่องโฮมซิกอยู่… แต่ก่อนอื่นเรามาเช็คกันเล่นๆดูหน่อยว่าน้อง ๆ เตรียมตัวพร้อมแล้วหรือยัง? สำหรับการไปเรียนต่อที่ต่างประเทศ
5 สิ่งสำคัญสำหรับการเตรียมตัวไปเรียนต่อต่างประเทศ
- เลือกประเทศและแผนการเรียนแล้วหรือยัง? : การเลือกแผนการเรียนถือเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะอย่างที่บอกกล่าวไปในข้างต้นว่า การมีวุฒิการศึกษาจากต่างประเทศจะช่วยเป็นใบเบิกทางให้กับความก้าวหน้าในอนาคต ฉะนั้นการเลือกแผนการเรียน น้อง ๆ ก็จะต้องพิจารณาว่าหลักสูตรที่น้อง ๆ จะเลือกนั้นตรงกับความต้องการหรือสามารถใช้ประโยชน์ในสายงานหรืออาชีพในอนาคตของน้อง ๆ หรือไม่? การเลือกประเทศที่ไปก็อาจจะดูจากค่าใช้จ่ายและประเทศที่น้อง ๆ ชอบ เช่น อยากไปประเทศที่มีคนไทยเยอะหน่อยจะได้ขอความช่วยเหลือจากคนไทยได้บ้าง ก็อยากจะเลือกเรียนต่อออสเตรเลีย หรือหากน้อง ๆ ต้องการเรียนต่อในประเทศที่เก่าแก่ทางด้านการศึกษาอาจจะเลือกเรียนต่ออังกฤษ หรือเรียนต่ออเมริกา เป็นต้น
- มีที่พักที่เหมาะสมและปลอดภัยแล้วใช่ไหม? : เรื่องของที่พักสำหรับนักเรียนนักศึกษาที่จะไปเรียนภาษาหรือ เรียนต่อ ป.โท ต่างประเทศเป็นเรื่องที่มักเป็นปัญหามากที่สุด เพราะบางครั้งก็ไปเจอที่พักแออัดที่ต้องแชร์ห้องอยู่กันหลาย ๆ คน ห้องพักที่ไม่สะอาดและปลอดภัย หรืออยู่ไกลจากที่เรียน ฯลฯ ฉะนั้นการเลือกที่พัก นอกจากจะต้องคำนึงถึงความใกล้-ไกลจากสถานที่เรียนและราคาแล้วความปลอดภัย และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ของที่พักมีอะไรบ้าง อาจจะต้องใช้เวลาหาข้อมูลหรือดูรีวิวเยอะ ๆ หรือน้อง ๆ สามารถสอบถามและปรึกษาเรื่องหอพักนักศึกษากับพี่ ๆ Hands On ก็ได้ค่ะ
- สมัครเรียน ขอวีซ่าผ่านแล้วหรือไม่? : เมื่อตัดสินใจได้แล้วว่าจะเรียนอะไร ประเทศไหน ที่นี้ก็มาถึงขั้นตอนการสมัครเรียนในสถาบันหรือมหาวิทยาลัยที่คุณสนใจ โดยขั้นตอนของการเตรียมเอกสารเพื่อสมัครเรียน ได้แก่ สำเนาพาสปอร์ต, รูปถ่าย, สำเนาบัตรประชาชน, สำเนาทะเบียนบ้าน, ใบสมัครของสถาบันที่น้อง ๆ ต้องการเรียน, Transcript (ผลการเรียนของวุฒิการศึกษาล่าสุด), ใบรับรองการทำงาน (ในกรณีที่น้อง ๆ ที่สมัครเรียนกำลังทำงานอยู่), ผลคะแนนสอบ TOEFL/ IELTS ตามที่หลักสูตรกำหนด, CV และเอกสารรับรองสถานะทางการเงิน (หากเป็นหลักสูตรปริญญาโทต้องมีจดหมายแนะนำตัวหรือที่เรียกว่า Statement of Purpose และจดหมายรับรองจากอาจารย์และหัวหน้างาน อย่าง Recommendation Letter เป็นภาษาอังกฤษเพิ่มเติมด้วย) จากนั้นก็รอทางสถาบันตอบรับกลับมาแล้วค่อยดำเนินการเรื่องวีซ่าต่อ
ส่วนการเตรียมเอกสารการขอวีซ่าเพื่อเรียนต่อนั้น สามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้ คือ 1.) เอกสารส่วนตัว : พาสปอร์ตตัวจริงพร้อมสำเนา, รูปถ่าย, สำเนาบัตรประชาชน, สำเนาทะเบียนบ้าน, ใบสมัครของสถาบันที่น้อง ๆต้องการเรียน, Transcript, ใบรับรองการทำงานและเอกสารตรวจสุขภาพ E-Medical 2.) เอกสารของสปอนเซอร์ : ควรเป็นผู้ปกครองหรือคนในครอบครัวของน้อง ๆ ที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันง่าย เช่น ต้องมีนามสกุลเดียว ส่วนเอกสารที่ต้องเตรียมได้แก่ สำเนาบัตรประชาชน, สำเนาทะเบียนบ้าน, หลักฐานการทำงาน, หลักฐานการเงิน (Statement) รวมถึงแหล่งที่มาของรายได้ของสปอนเซอร์ 3.) เอกสารจากโรงเรียนหรือสถาบันที่ตอบรับน้อง ๆเข้าเรียน : ได้แก่ ใบตอบรับเข้าเรียน ใบเสร็จรับเงินและประกันสุขภาพ ซึ่งเอกสารในส่วนนี้จะต้องได้รับตราประทับรับรองจากสถาบันที่น้อง ๆ เรียนก่อนยื่นวีซ่า เพื่อความราบรื่นและรวดเร็วของการทำวีซ่านั่นเอง - กำหนดวันเดินทางและซื้อตั๋วเครื่องบินเรียบร้อยแล้วหรือไม่? : เมื่อได้เตรียมตัวตามข้างต้นที่ได้กล่าวมาแล้ว ขั้นตอนต่อไปน้อง ๆ ก็ควรจะกำหนดวันเดินทางและซื้อตั๋วเครื่องบิน ซึ่งก็ควรทำล่วงหน้าก่อนกำหนดการของน้อง ๆประมาณ 3 เดือนหรือมากกว่านั้น เพราะค่าตั๋วเครื่องบินจะถูกกว่าการที่น้อง ๆ ซื้อช่วงวันใกล้ ๆ กับที่น้อง ๆ จะไปนั่นเอง
- เตรียมเสื้อผ้า ของใช้ส่วนตัว เอกสารสำคัญต่าง ๆ และแลกเงินสดสกุลเงินของประเทศที่จะไป แล้วใช่ไหม? : มากถึงขั้นตอนที่แสนยุ่งยาก ยิ่งน้อง ๆ ไปเรียนต่อต่างประเทศนานเท่าไหร่ สัมภาระจำพวกข้าวของเครื่องใช้ของน้อง ๆ ก็จะยิ่งเยอะตาม ดังนั้นน้อง ๆ ควรที่จะทำเช็คลิสต์ของใช้ที่จำเป็นต่าง ๆ เอาไว้ เช่น เอกสารสำคัญต่าง ๆ และแลกเงินใช้ให้เพียงพอภายใน 2-3 สัปดาห์แรกก่อน จากนั้นให้ไปเปิดบัญชีธนาคารที่ต่างประเทศไว้สำหรับให้ที่บ้านโอนเงินค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมมาให้นั่นเอง
หรือจะให้ง่ายกว่านั้น น้อง ๆ สามารถทำ Travel Card จากธนาคารในประเทศไทย (มีให้เลือกใช้ได้หลายธนาคาร) ที่เลือกทำได้ทั้ง Travel Card ประเภทเติมเงิน ที่เมื่อน้อง ๆ เปิดบัตรสำเร็จแล้วก็สามารถเติมเงินจำนวนหนึ่งเข้าไปในบัตร จากนั้นก็สามารถแลกเงินไทยเป็นสกุลเงินต่าง ๆ ได้ หรือจะเลือกเป็นประเภท Travel Card ที่เป็นเดบิต ก็เหมือนบัตรเดบิตที่ใช้ทั่วไปคือเรามีเงินฝากในธนาคารอยู่จำนวนหนึ่งในบัญชีนั้น เมื่อไปถึงประเทศที่น้อง ๆ เรียนก็สามารถรูดใช้จ่ายได้เลย โดยไม่ต้องแลกเปลี่ยนสกุลเงินให้เสียเวลา
ศึกษาและทำความรู้จักกับวัฒนธรรมประเพณีของคนในประเทศที่จะไปหรือยัง? : การทำความรู้จักวัฒนธรรมและประเพณีของแต่ละประเทศที่น้อง ๆ จะไปไว้ก่อนเบื้องต้น จะช่วยให้น้อง ๆ เข้ากับผู้คนในประเทศนั้น ๆ และปรับตัวได้เร็วและง่ายยิ่งขึ้น มีเพื่อนได้เร็วขึ้น ซึ่งก็อาจจะช่วยไม่ให้น้อง ๆ เป็นโฮมซิกหรือ Culture Shock ได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเราก็จะต้องเผื่อใจ และเปิดใจรับวัฒนธรรมใหม่ ๆ ของเพื่อนชาวต่างชาติด้วย ถือเป็นอีกโอกาสที่ดีที่เราจะได้แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและความคิดเห็นของเราอย่างเปิดเผยและเป็นตัวของตัวเอง
วิธีการเตรียมตัวเพื่อรับมือกับโรคโฮมซิก เมื่อต้องไปเรียนต่อต่างประเทศ
เมื่อน้อง ๆ ต้องไปใช้ชีวิตอยู่ในต่างประเทศ ต่างภาษา ต่างวัฒนธรรมนาน ๆ มันก็เลี่ยงยากที่จะเกิดอาการคิดถึงบ้าน คิดถึงสิ่งที่คุ้นเคยต่าง ๆ อีกทั้งยังมีความกดดันเรื่องเรียน เรื่องภาษาที่น้อง ๆ ต้องใช้ความพยายามอย่างสูงในการฝึกฝนเรียนรู้ จนอาจจะเกิดอาการท้อ หดหู่ กดดัน เหงา โดดเดี่ยว จนเกิดความเครียดสะสม กินไม่ได้นอนไม่หลับ อาการเหล่านี้เรียกว่า “โฮมซิก (Homesick)”
แม้อยากจะกลับบ้านแต่ก็กลับไม่ได้ ยังไงก็ต้องสู้กันสักตั้ง!! ลองมาดูวิธีการเพื่อรับมือกับอาการโฮมซิกกันดีกว่า
- หาสถานที่ท่องเที่ยวที่น้อง ๆ อยากไป : การออกไปเปิดหูเปิดตาจะช่วยเพิ่มความสดชื่นตื่นเต้นที่แตกต่างออกไปจากกิจวัตรประจำวันแบบซ้ำ ๆ ไปถ่ายรูปตามสถานที่สวย ๆ กินอาหารอร่อย ๆ แล้วเอาไปลงในโซเชี่ยลมีเดีย ให้เพื่อนที่ไทยได้อิจฉานิด ๆ จนอดคอมเม้นต์ใต้โพสต์ของน้อง ๆ ไม่ได้ ก็น่าจะช่วยทำให้น้อง ๆ คลายความเหงาและเบื่อหน่ายไปได้บ้าง
- ไปช้อปปิ้งหาของฝากให้ครอบครัวหรือเพื่อน ๆ ที่เมืองไทย : ใคร ๆ ก็รู้ว่าการช้อปปิ้งเป็นวิธีแก้เครียดได้ดีอีกวิธีหนึ่ง หากเรียนต่อต่างประเทศนาน ๆ ทำให้น้อง ๆ คิดถึงบ้าน คิดถึงเพื่อน คิดถึงคนในครอบครัวมาก ๆ การได้ออกไปซื้อของขวัญให้กับคนที่น้อง ๆ คิดถึง จะช่วยสร้างโมเม้นต์ความสุขเล็ก ๆ ให้เกิดขึ้นไม่มากก็น้อย
- เปิดใจออกไปปาร์ตี้ หรือหาเพื่อนใหม่ ๆ บ้าง : แม้ภาษาจะเป็นอุปสรรคสำคัญในการสื่อสาร สำหรับการเรียนต่อต่างประเทศ แต่ก็ใช่ว่าเพื่อนชาวต่างชาติคนอื่น ๆ ที่มาจากต่างประเทศเช่นน้อง ๆ จะไม่เจอปัญหาเดียวกัน… การเปิดใจหาเพื่อนใหม่ ๆ จากประเทศต่าง ๆ ที่เขาหัวอกเดียวกับน้อง ๆ พุดคุยกัน ทำอาหารกินกัน หรือออกไปเที่ยวด้วยกัน ก็จะช่วยให้น้อง ๆ สนุกและสามารถลืมเรื่องเศร้า ๆ หรือความเหงาลงไปได้อย่างแน่นอน
- หางานพิเศษหรืองานอดิเรกทำ : การทำงานพิเศษหารายได้เล็ก ๆ น้อย ๆ ระหว่างเรียนต่อต่างประเทศเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยให้น้อง ๆ ฝึกภาษาได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะน้อง ๆ จะโดนบังคับให้สื่อสารอยู่ตลอดเวลา นอกจากนั้นน้อง ๆ ก็อาจจะได้เพื่อนใหม่จากที่ทำงานเดียวกัน หรือจะกุ๊กกิ๊กไปกว่านั้นก็อาจจะได้แฟนให้อินเลิฟจนลืมเรื่องโฮมซิกไปเลย ที่สำคัญได้เงินค่าจ้างไว้กินเที่ยวหรือซื้อของติดไม้ติดมือกลับบ้าน
แต่ถ้าหากน้อง ๆ คิดว่ายังไม่พร้อมออกไปทำงาน ลองหาหนังดี ๆ เพลงเพราะ ๆ ไว้ฟังหรือดูคลายเครียดไปพลาง ๆ บางทีน้อง ๆ ก็อาจจะได้ฝึกภาษาจากสิ่งเหล่านี้ไปด้วยแบบไม่รู้ตัว หรือถ้ายังไม่พอใจลองลุกขึ้นมาทำความสะอาดแต่งห้องสวย ๆ ให้สะอาดตา ก็น่าจะช่วยให้บรรยากาศในห้องของน้อง ๆ ดูไม่เศร้าและเหงาจนเกิดไปได้ - อัดคลิปทำ Vlog ลงโซเชี่ยลมีเดีย : จากบ้านจากเมืองมาเรียนต่อ ป.โท ต่างประเทศ คนในอยากออก คนนอกอยากเข้า… มีหลายคนที่คิดอยากไปมีชีวิตดี ๆ แบบน้อง ๆ ลองทำคลิปหรือ Vlog ที่เป็นข้อมูลดี ๆ มีประโยชน์สำหรับเพื่อน ๆ คนอื่นที่คิดจะมาเรียนต่อต่างประเทศ ไปจนถึงการแชร์ข้อคิด ความรู้สึกหรือเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันของน้อง ๆ ให้เพื่อนสนิทหรือเพื่อนในโซเชี่ยลได้ทราบและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันบ้าง ก็น่าจะช่วยให้คลายเหงาและช่วยให้น้อง ๆ ไม่ต้องรู้สึกโดดเดี่ยว ดีไม่ดีน้อง ๆ อาจกลายเป็น Influencer, Blogger, Youtuber หรือ Tiktoker ที่มีคนติดตามมหาศาลไปเลยก็ได้
และทั้งหมดนี้คือวิธีการที่จะช่วยให้น้อง ๆ รับมือกับความเหงา โดดเดี่ยว กดดัน จากภาวะของโรคโฮมซิก ที่มักจะเกิดขึ้นกับคนที่ไปเรียนต่อต่างประเทศ เพราะการอดทนกับความยากลำบากต่าง ๆ นานาในการไปเรียนยังต่างประเทศ จะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่นอกจากจะเป็นใบเบิกทางสำหรับอาชีพในอนาคตของน้อง ๆ แล้ว ยังเป็นประสบการณ์ชีวิตที่ดีให้กับชีวิตของน้อง ๆ อย่างแน่นอน
หากน้อง ๆ กำลังมองหาที่ปรึกษาในการไปเรียนต่อ ป.โท ต่างประเทศ หรือสนใจจะเรียนภาษากับเจ้าภาษา เช่น เรียนต่อออสเตรเลีย, เรียนต่ออังกฤษ หรือเรียนต่ออเมริกา สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดดี ๆ จากพี่ ๆ Hands On ได้เลย เพราะเราคือผู้เชี่ยวชาญด้านการเรียนต่อต่างประเทศ ที่มีพาร์ทเนอร์จากหลากหลายสถาบันการเรียนภาษาและตัวแทนมหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักร, ไอร์แลนด์, สหรัฐอเมริกา, แคนาดา, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์ และสิงคโปร์อย่างเป็นทางการประจำประเทศไทย
Hands On บริการให้คำปรึกษาแนะแนวการเรียนต่อต่างประเทศ
เรียนต่ออังกฤษ เรียนต่ออเมริกา เรียนต่อออสเตรเลีย เรียนต่อปริญญาตรี-โท-เอก ต่างประเทศ
เปิดบริการ 6 สาขาทั่วประเทศไทย คือ สีลม (สำนักงานใหญ่), สุขุมวิท, ปิ่นเกล้า, พระราม 2, พระราม 9 และเชียงใหม่
Line : @handson
Facebook : www.facebook.com/HandsOnEdu
Tel : 02 635 5230, 02 821 6877, 02 821 6887