แพ็คกระเป๋าก่อนไปเรียนต่อ ป.โท ต่างประเทศ 40 โล โอ้โหจิ๊บๆ
ทริคการแพ็คกระเป๋า เพื่อเตรียมตัวเรียนต่อต่างประเทศ เรียนต่ออังกฤษ (เรียนต่อ UK) เรียนต่ออเมริกา (เรียนต่อ USA) เรียนต่อออสเตรเลีย เรียนต่อป.โท ต่างประเทศ
การแพ็คกระเป๋าไปเรียนต่างประเทศจะว่ายากก็ยาก จะว่าง่ายก็ง่าย หลายคนคงประสบปัญหาจัดกระเป๋าเข้าออกหลายครั้ง เพราะตัดสินใจไม่ได้สักทีว่าจะเอาอะไรไป หรือทิ้งอะไรไว้ที่บ้าน ถ้าจองตั๋วผ่านเอเจนซี่ STA travel ที่โคกับทาง Hands On ซึ่งถือว่าได้ตั๋วราคาถูกมาก (หมายเหตุ ปัจจุบัน STA travel ได้ปิดตัวแล้วเนื่องจากผลกระทบจากสถานการณ์โรคระบาด Covid 19)
เราจองตั๋วได้ตั้งแต่ก่อนที่ Visa จะออกด้วย แล้วค่อยคอนเฟิร์มก่อนบิน 14 วันก่อนบิน โดยปกติแล้วถ้าบินสายการบินอื่นจะได้ 30 โล แต่ถ้าบิน Qatar Airways จะได้ 40 โล มี Transit ที่โดฮา 1 ครั้ง ชั่วโมงนึง ได้ตั๋วที่ราคา 18,000 บาท แต่ 40 โลอันนี้คือต้องแบ่งเป็นกระเป๋าสองใบ จัดยังไงก็ได้บวกกันได้ไม่เกิน 40
เราแบ่งของที่จะจัดเป็นหมวดๆ เช่น เสื้อผ้า ยา ของใช้ส่วนตัว ให้ลองจัดกันดู ส่วนตัวเราจัดแบบให้พอเดือนแรก เดี๋ยวไปซื้อที่โน่นเอา)
หมวดเสื้อผ้า
ก็เป็นผู้หญิงอะเนอะ หมวดนี้จะเยอะเป็นธรรมดา นี่คือจัดเข้าๆออกๆเยอะมาก เพราะตัดใจยากมากว่าจะเอาอะไรมาบ้าง แต่เราก็แนะนำให้เอามาแบบพอใส่ เพราะต้องมาซื้อที่นี่อยู่ดี ถ้าใครมาเรียน Pre-sessional ช่วงนั้นจะร้อน เพราะฉะนั้นเอาเสื้อผ้ามาแบบเหมือนใส่อยู่เมืองไทยได้เลย เพราะตอนเรามาเรียน 8 week ต้องไปซื้อเสื้อยืดเพิ่มเพราะดันเอามาแต่เสื้อหนาๆ แต่ถ้าใครมาเรียนช่วงเปิดเทอมเดือนตุลาเลยก็จัดเสื้อหนาวมาเลยจ้า แต่เสื้อโค้ทก็มาซื้อที่นี่เพราะมันกินที่ในกระเป๋าเยอะ
- เสื้อชั้นใน กางเกงใน 14 ชุด (เราเอาไปหลายๆแบบ ทั้งแบบกางเกงเผื่อใส่กับชุดออกงาน เสื้อในแบบเสื้อกล้ามอะไรแบบนี้ด้วย)
- เสื้อยืด 5 ตัว (ทั้งแบบใส่นอน+ใส่ไปเรียน)
- กางเกงยีนส์ 5 ตัว (สั้น 2 ยาว 3)
- กางเกงผ้า 5 ตัว (ใส่นอน 2 ตัว / แบบลองจอห์น 1 ตัวสำหรับหน้าหนาว / แบบเดินเล่น 2 ตัว)
- เสื้อแจ็คเก็ต 2 ตัว สเว็ตเตอร์ 2 ตัว
- เสื้อทับ 2 ตัว
- รองเท้า 5 คู่ (ผ้าใบ 1 ส้นสูง 2 เผื่อไว้ออกงาน คัทชู 1 รองเท้าแตะ 1)
- ผ้าพันคอ 1 ผืน
- เสื้อเชิ้ต 3 ตัว
- สูท 1 ตัว
- กระเป๋า 7 ใบ (เป้ 1 ใบที่สะพายขึ้นเครื่อง กระเป๋าผ้า 2 ใบ ไว้ช้อปปิ้ง กระเป๋าสะพายจุกจิ๊ก 4 ใบ)
ของใช้ส่วนตัวจิปาถะ
- เครื่องสำอางส่วนตัว และพวกสบู่ แชมพู ยาสระผม แปรงสีฟัน ยาสีฟัน เอาไปแบบเล็กๆพอแล้วไปซื้อที่โน่น ไม่แพง
- เครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น ที่ม้วนผม ปลั๊กแปลงไฟ ปลั๊กราง
- ไม้แขวนเสื้อ 10 อัน
- เครื่องรีดผ้าไอน้ำพกพา (อันนี้แล้วแต่คน แต่เราเป็นคนนอยเวลาผ้าไม่เรียบ)
- เครื่องเขียน เช่น กรรไกร ไฮไลท์ ปากกา สมุดจดสักเล่ม
- ที่ฉีดตูดแบบพกพา (เป็นคนติดที่ฉีดตูดมากกก เลยซื้อมาจากออนไลน์ หาไม่ยาก ลองเซิชสายชำระพกพา)
- ถุงตาข่ายซักผ้า (ควรเอาไป เพราะเวลาซักผ้ามันจะปั่นออกมากระจัดกระจายและปั่นแรงมาก บางทีพวกถุงเท้ามันไปหนีบอยู่ตรงซอกเครื่องซักผ้า)
ยา
อันนี้เตรียมให้ครบเพราะได้ยินว่ายาบางอย่างต้องรอหมอจ่ายให้ แถมกว่าจะนัดหมอนี่ต้องรอเป็นอาทิตย์ เราเลยเตรียมตามนี้ ปลาสเตอร์ เบตาดีน ผ้าปิดปาก ยาน้ำเต้าทอง เผื่อเวลาจะเป็นหวัด พอนสแตนสำหรับช่วงปวดเมนส์(อันนี้มีขาย ไม่ต้องเอามาก็ได้) ยาแก้ปวดท้อง พวกคาร์บอน (ที่นี่ก็มีคาร์บอนขายนะ) ไทลินอล (ที่นี่ก็มี แต่ติดไว้หน่อยดีกว่า) ยาพ่นแก้เมื่อย ยาพ่นจมูกแก้แพ้อากาศ ยาแก้แพ้แบบง่วงกับไม่ง่วง
ของที่ต้องใส่กระเป๋าที่ติดตัวตอนขึ้นเครื่องบิน
- เอกสารรับรองต่างๆ และพาสปอร์ต
- กระติกน้ำ (ตอนขึ้นเครื่องก็เอากระติกเปล่าแล้วค่อนไปเติมในสนามบินไว้ดื่มระหว่างเดินทาง เพราะนั่งนาน)
- ยาดม (น้องให้มาก่อนบิน ตอนแรกไม่คิดว่าจะได้ใช้อะไร แต่พอขึ้นเครื่องบินคือแบบ สารพัดกลิ่นจริงๆ ยาดมช่วยชีวิตจริงๆค่ะ)
- ทิชชูเปียกและแห้ง
- ปากกา 1 ด้าม เอาไว้เขียนเอกสารต่างๆ
- ผ้าปูที่นอน 1 ชุด (ตอนมาถึงที่หอจะไม่มีหมอน ผ้าห่ม อะไรทั้งนั้น มีแค่เตียงเปล่า) ควรเอาผ้าปูที่นอนไปปูเผื่อก่อน ใครซื้อหมอน ผ้าห่มอะไรแบบนี้ไม่ทันจะได้มีผ้าปูรองนอนไปก่อน
ของที่ไม่ได้เอาไปแต่อยากให้ทุกคนเอาไป
- ช้อนส้อมสักชุด เพราะตอนมาถึงเดินไป Tesco มีแต่ขายแบบเซตแบบ 10 กว่าอันซึ่งเราไม่ได้ใช้เยอะขนาดนั้นเลยไม่ได้ไปซื้อ หรือใครจะซื้อแบบดีๆไปเลย ที่ห้าง Friary มี Muji กับ Zara Home ให้ไปซื้อกันในนั้นได้ ยิ่งช่วงกลางปีเดือน 6-7 จะมีเซลล์ลดกระหน่ำมาก ของแต่ละอย่างถูกมากกก
- ยาแก้แพ้จำนวนมาก สำหรับคนแพ้อากาศและแพ้ฝุ่น – ตอนเรามาแรกๆเหมือนยังปรับตัวกับอากาศไม่ได้ คัดจมูกมากๆตลอด แต่ก็ติดยาแก้แพ้มาแผงนึง พอเจอแบบนี้รู้สึกว่าน่าจะเอามาเยอะกว่านี้เพราะที่นี่จะหาซื้อยาบางตัวยาก
- ขี้ผึ้งกันแมลงกัดต่อย – ช่วงหน้าร้อน แมลงจะเยอะมาก มีคนแพ้แมลงที่นี่แล้วโดนกัดเป็นแผลแพ้แบบใหญ่มากจนต้องไปโรงพยาบาล เราก็โดนอะไรไม่รู้กัดเป็นแผลเหมือนกัน แต่พยายามไม่เกามันก็ค่อยๆหายไปแหละ แต่ช้า คิดถึงแซมบั๊คที่ไทยเลย
- ครีมหรือเจลว่านหางจระเข้ – เราคิดว่าหน้าร้อนที่ไทยคือที่สุดแล้วเลยเอาแค่ครีมกันแดดธรรมดาปกติมา แต่ว่าที่นี่แดดแรงคือแรงมาก แถมที่บังแดดไม่เยอะที่ไทย ขนาดหลังคา Starbucks ยังเป็นกระจกให้แดดส่องลงมาเลย ผิวเปลี่ยนสีไปเลยแถมผิวลอกด้วย พอไปที่ห้างพบว่า ครีมที่เป็นพวก Alovera คือแพงกว่าที่ไทยมาก แต่ต้องกัดฟันซื้อเพราะผิวที่หน้าลอกแสบไปหมด ครีมธรรมดาเอาไม่อยู่ พวกครีมอะไรที่เป็นของญี่ปุ่นนี่ใช้ไม่ได้เลยจ้าไม่ได้ผล
- ยาคลายกล้ามเนื้อหรือครีมทาคลายปวดเมื่อย – ช่วงแรกๆต้องวิ่งวุ่นซื้อของเข้าหอขาขวิด เมื่อยล้าไปหมดและต้องเดินเยอะมาก เพราะ ‘หลงทาง’ เราพบว่ามหาลัยใหญ่กว่าที่คิดมาก แล้วเดินวน เดินหลงอยู่หลายรอบมาก ดีที่เอาสเปรย์คลายกล้ามเนื้อมา ก็ช่วยได้บ้าง
- ของไทยๆ – เราได้ยินมาว่าที่อังกฤษกับอเมริกาไม่จำเป็นต้องห่วงเรื่องการหาวัตถุดิบในไทยเพราะมีหมด เราเลยไม่ได้เอาเครื่องปรุงอะไรหรือของฝากมาจากไทยเลย รู้สึกว่าเสียดายนิดนึงเพราะถ้าติดมาบ้างเราจะเอาไว้ผูกมิตรกับคนที่เราเจอได้ (วันแรกที่เข้าหอ เจอน้อง Flat mate คนจีน นางซื้อส้มมาให้ แต่เราคือไม่รู้จะให้อะไร มาแบบตัวเปล่า เราเลยซื้อขนมอย่างอื่นไปให้ – ไม่ไทยเลยอ่ะ
ถ้าใช้ตาชั่งธรรมดาที่บ้านก็ชั่งน้ำหนักตัวเองก่อนแล้ว ก็ชั่งน้ำหนักตัวเองตอนยกกระเป๋าแล้วหักลบน้ำหนักตัวเองตอนแรก ตรงเป๊ะกับตอนที่ไปชั่งที่เคาท์เตอร์ที่สนามบินเลย ลองเอาแผนการจัดของๆเราไปปรับใช้ดูนะจ้า
หากน้อง ๆ กำลังมองหาที่ปรึกษาในการไปเรียนต่อ ป.โท ต่างประเทศ หรือสนใจจะเรียนภาษากับเจ้าภาษาเรียนต่อ ป.โท อังกฤษ, เรียนต่ออเมริกา หรือเรียนต่อออสเตรเลีย สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดดี ๆ จากพี่ Hands On ได้เลย เพราะ Hands On คือผู้เชี่ยวชาญด้านการเรียนต่อต่างประเทศที่มีพาร์ทเนอร์จากหลากหลายสถาบันการเรียนภาษาและตัวแทนมหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักร, ไอร์แลนด์, สหรัฐอเมริกา, แคนาดา, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์ และสิงคโปร์อย่างเป็นทางการประจำประเทศไทย
Hands On บริการให้คำปรึกษาแนะแนวการเรียนต่อต่างประเทศ เรียนต่อ ป.โท ต่างประเทศ เรียนต่อ ป.โท อังกฤษ (เรียนต่อ UK) เรียนต่ออเมริกา (เรียนต่อ USA) เรียนต่อออสเตรเลีย
เปิดบริการ 6 สาขาทั่วประเทศไทย คือ สีลม (สำนักงานใหญ่), สุขุมวิท, ปิ่นเกล้า, พระราม 2, พระราม 9 และเชียงใหม่
Line : @handson
Facebook : www.facebook.com/HandsOnEdu
Tel : 02 635 5230, 02 821 6877, 084 245 1708