จะมาอังกฤษ ควรจัดการเงินยังไงดี เคล็ดลับจากรุ่นพี่นักเรียนไทย

  • Share this:

นอกจากเงินที่เราต้องจ่ายค่าเทอมให้มหาลัยแล้ว เงินที่ใช้ในชีวิตประจำวันก็เป็นเงินก้อนใหญ่อีกก้อนที่เราควรจัดการให้ดี เป็นที่รู้กันอยู่ว่าค่าครองชีพที่อังกฤษแพงกว่าที่เมืองไทยมาก ซื้อของทีละปอนด์ สองปอนด์ แต่พอรวมบินออกมาก็ 10-20 ปอนด์แล้ว ไหนจะต้องจัดการเงินเวลาไปเที่ยวกับเพื่อนอีก จ่ายคนละทีสองทีก็งงกันไปหมดว่าติดใครอยู่เท่าไหร่ วันนี้จะมาแนะนำวิธีการจัดการเงินที่ใช้ในชีวิตประจำวันในฐานะนักเรียนอังกฤษกันค่ะ

1) การแลกเงิน

            การแลกเงินจากบัญชีไทยสามารถทำผ่านธนาคารต่างๆ ในประเทศไทย ซึ่งสามารถทำได้หลักๆ 2 วิธีด้วยกัน คือ

1 บัตร Planet card (SCB)/Travel card (KTB)/ Journey (KBANK) – ข้อดีของการใช้บัตรคือเราสามารถแลกเงินทิ้งไว้ได้ ตอนที่ค่าเงินตกก็แลกซื้อเก็บไว้ก่อนได้ อัตราแลกเปลี่ยนอยู่ในเกณฑ์ดี เทียบเท่า super rich ส่วนค่าธรรมเนียมการกดเงินก็ฟรี (ในเดือนมกราคม 2565)

2 โอนเงินผ่านบริการโอนเงินของ SCB, KBANK – ข้อดีคือได้อัตราแลกเปลี่ยนที่ค่อนข้างดี แต่อาจจะต้องเสียค่าธรรมเนียมเล็กน้อย และนอกจากนี้ยังต้องมีบัญชีที่ประเทศปลายทางอีกด้วย จึงอาจจะไม่ใช่วิธีที่สะดวกสำหรับนักเรียนที่กำลังจะไปเรียนปีแรก

3 แลกเงินผ่านบัตรเครดิต – เป็นวิธีที่สะดวก ถ้าใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตก็ยังได้แต้ม เอาไว้แลกของเวลากลับไปที่เมืองไทยได้ แต่ข้อเสียของการแลกเงินผ่านบัตรเครดิตคืออัตราแลกเปลี่ยนค่อนข้างแพง และยังมีค่าธรรมเนียมในการใช้จ่ายสกุลเงินต่างประเทศอีกด้วย

 

2) การใช้เงิน

            ร้านค้าใหญ่ๆ อย่าง TESCO ก็รับการจ่ายด้วยบัตรแบบ contactless กันหมดแล้ว เวลาจ่ายเงินเราไม่ต้องเสียบบัตรเข้าไปในเครื่อง แค่แปะบัตรกับเครื่องก็สามารถจ่ายเงินได้แล้วโดยที่ไม่ต้องกด pin  จากประสบการณ์ บัตร Planet card/Travel card/Journey หรือ บัตรเครดิตจากธนาคารไทยก็สามารถจ่ายแบบ contactless ได้เลย

แต่ส่วนใหญ่แล้ว เวลาไปซื้อของจะจ่ายเงินผ่าน apple pay ถ้าเราเพิ่มบัตรเข้าไปใน apple pay/samsumg pay แล้ว ก็สามารถจ่ายแบบ contactless ผ่านมือถือได้เลย ส่วนตัวมองว่าเป็นวิธีที่สะดวกที่สุด เพราะมือถือเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ติดตัวอยู่แล้ว และเวลาเดินไปไหนก็จะมีมือถือติดมือ อยู่ในที่ที่หยิบง่าย เวลาจะหยิบจ่ายสินค้าก็สะดวกมากๆ ข้อเสียคือบัตรที่มาจากธนาคารไทย ไม่สามารถใช้ผ่าน apple pay ได้ บัตรที่จะสามารถใช้ผ่าน apple pay ได้จะต้องเป็นบัตรที่ออกโดยธนาคารหรือสถาบันการเงินของอังกฤษเท่านั้น ดังนั้นเลยแนะนำให้เปิดบัญชีกับธนาคารที่อังกฤษค่ะ

ทั้งนี้ การเปิดบัญชีกับสถาบันการเงินที่ใหญ่ๆ อย่าง HSBC, Lloyds bank, Bank of Scotland จะใช้เวลานาน ขอเอกสารค่อนข้างเยอะ บางทีก็ต้องรอเอกสารจากทางมหาลัยเพื่อยืนยันสถานะนักเรียน และบางธนาคารอยากให้เราเข้าไปยืนยันเอกสารที่สาขา นักเรียนบางคนเลยเลือกที่จะเปิดกับ fintech อย่าง Revolut หรือ Monzo กัน เพราะสามารถส่งเอกสารออนไลน์ได้เลย และใช้เวลาน้อยกว่า

 

3) การทำบัญชี

            การทำบัญชีเพื่อให้เห็นรายรับรายจ่าย เป็นนิสัยที่ดีในการควบคุมค่าใช้จ่ายของเราเอง ปกติธนาคารจะมี statement ให้ในแต่ละเดือน แต่เป็นรายงานเพื่อการแสดงเงินเข้าเงินออก และเงินคงเหลือเท่านั้น ถ้าให้เรามานั่งจดรายจ่ายแต่ละรายการ และจัดหมวดหมู่ค่าใช้จ่ายคงต้องใช้เวลานาน และน่าเบื่อ

Revolut เป็นแอปในมือถือที่ช่วยจัดหมวดหมู่ค่าใช้จ่ายจากชื่อร้านค้าที่เราทำรายการ เช่น Marks & Spencer ก็จะอยู่ในหมวด grocery ทำให้เราสามารถเห็นภาพรวมค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนได้ชัดเจนขึ้น ซึ่งเราสามารถโอนเงินเข้า Revolut แล้วจ่ายด้วยบัตรเดบิตของ Revolut หรือเราแค่ลิ้งข้อมูลจากธนาคารสัญชาติอังกฤษอื่นๆ เข้ามาในแอป เราก็จะสามารถใช้ฟังก์ชั่นนี้ในการจัดการค่าใช้จ่ายได้เช่นกัน

ตอนนี้ส่วนตัวก็ใช้ Revolut ในการบันทึกค่าใช้จ่ายรายเดือนอยู่เหมือนกัน จะเห็นจาก screenshot ด้านล่าง แอปก็จะแสดงให้เห็นว่าในเดือนนี้เราใช้เงินไปเท่าไหร่ เทียบกับเดือนที่แล้วในเวลาเดียวกัน เราใช้เงินน้อยลงหรือมากขึ้น ถ้าเราใช้เงินแบบนี้ไปจนถึงสิ้นเดือน เราจะได้เงินไปทั้งหมดเท่าไหร่โดยประมาณ นอกจากนี้สามารถกำหนด budget ในแต่ละเดือนได้ด้วยว่าเดือนนี้จะใช้เท่าไหร่ และส่วนที่ออมชอบที่สุดคือการแยกค่าใช้จ่ายเป็นหมวดต่างๆ ทำให้เรารู้ว่าค่าใช้จ่ายในเดือนนี้เราหมดไปกับอะไร

4) การจัดการกระเป๋าตังค์กลุ่ม (เวลาไปเที่ยวกับเพื่อน)

สุดท้าย เวลาเราไปเที่ยวกับเพื่อน บางมื้อเราก็ทานกับเพื่อนทั้งกลุ่ม แต่บางมือเราแบ่งกับเพื่อนแค่ 2 คน จะโอนเงินเพื่อเคลียร์บัญชีทุกวันก็ดูยุ่งยาก ดังนั้นเวลาไปทริปกับเพื่อน ออมจะใช้ Splitwise เป็นแอปที่ให้เราบันทึกค่าใช้จ่ายโดยสามารถระบุว่าค่าใช้จ่ายนี้อยากจะแบ่งกับใครบ้าง ซึ่งอาจจะไม่ใช่ทุกคนในทริป และแอปจะคำนวณให้ว่าหลังจากจบทริปแล้ว เราจะต้องจ่ายให้เพื่อนคนไหน เป็นจำนวนเท่าไหร่ หรือจริงๆ เพื่อนอาจจะติดเงินเราอยู่ก็ได้

 

สุดท้ายนี้ก็ขอทิ้งท้ายด้วยตารางสรุปด้านล่าง ว่าในแต่ละขั้นตอนในการเตรียมเงินไปใช้ที่อังกฤษสามารถใช้บริการกับสถาบันการเงินประเภทไหนได้บ้าง

ผู้ให้บริการ การแลกเงิน

การใช้เงิน

การทำบัญชี การจัดการกระเป๋าตังค์กลุ่ม
บัตรแข็ง เชื่อมกับ apple pay
ธนาคารสัญชาติไทย
เช่น SCB, KBANK, KTB
มี มี
ธนาคารสัญชาติอังกฤษ
เช่น HSBC, Loydes bank
มี มี
Fintech
เช่น Revolut, monzo
มี (อาจจะมีค่าธรรมเนียมในการออกบัตร) มี มี มี
Splitwise มี มี

 

หวังว่าเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ จะเห็นภาพการจัดการเงินระหว่างช่วงที่ไปเรียนต่อกันมากขึ้นนะคะ ขอให้สนุกกับการเรียนในปีนี้ค่ะ 😊

สนใจเรียนต่อสหราชอาณาจักร ปรึกษาพี่ ๆ Hands On ตัวแทนมหาวิทยาลัยอย่างเป็นทางการประจำประเทศไทยฟรี เพียงกรอกแบบฟอร์มด้านล่าง

Enquiry Form

Please provide the following information and we will aim to respond within 48 hours:

Your details
Please enter your first name.
Please enter your last name.
Please enter a valid email address.
Please enter your phone number.
Please select a country you want to study.
Please select a year you want to study.
Please select your preferred branch.

* All fields required (in English)

  • Share this: