นอกจากเงินที่เราต้องจ่ายค่าเทอมให้มหาลัยแล้ว เงินที่ใช้ในชีวิตประจำวันก็เป็นเงินก้อนใหญ่อีกก้อนที่เราควรจัดการให้ดี เป็นที่รู้กันอยู่ว่าค่าครองชีพที่อังกฤษแพงกว่าที่เมืองไทยมาก ซื้อของทีละปอนด์ สองปอนด์ แต่พอรวมบินออกมาก็ 10-20 ปอนด์แล้ว ไหนจะต้องจัดการเงินเวลาไปเที่ยวกับเพื่อนอีก จ่ายคนละทีสองทีก็งงกันไปหมดว่าติดใครอยู่เท่าไหร่ วันนี้จะมาแนะนำวิธีการจัดการเงินที่ใช้ในชีวิตประจำวันในฐานะนักเรียนอังกฤษกันค่ะ
1) การแลกเงิน
การแลกเงินจากบัญชีไทยสามารถทำผ่านธนาคารต่างๆ ในประเทศไทย ซึ่งสามารถทำได้หลักๆ 2 วิธีด้วยกัน คือ
1 บัตร Planet card (SCB)/Travel card (KTB)/ Journey (KBANK) – ข้อดีของการใช้บัตรคือเราสามารถแลกเงินทิ้งไว้ได้ ตอนที่ค่าเงินตกก็แลกซื้อเก็บไว้ก่อนได้ อัตราแลกเปลี่ยนอยู่ในเกณฑ์ดี เทียบเท่า super rich ส่วนค่าธรรมเนียมการกดเงินก็ฟรี (ในเดือนมกราคม 2565)
2 โอนเงินผ่านบริการโอนเงินของ SCB, KBANK – ข้อดีคือได้อัตราแลกเปลี่ยนที่ค่อนข้างดี แต่อาจจะต้องเสียค่าธรรมเนียมเล็กน้อย และนอกจากนี้ยังต้องมีบัญชีที่ประเทศปลายทางอีกด้วย จึงอาจจะไม่ใช่วิธีที่สะดวกสำหรับนักเรียนที่กำลังจะไปเรียนปีแรก
3 แลกเงินผ่านบัตรเครดิต – เป็นวิธีที่สะดวก ถ้าใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตก็ยังได้แต้ม เอาไว้แลกของเวลากลับไปที่เมืองไทยได้ แต่ข้อเสียของการแลกเงินผ่านบัตรเครดิตคืออัตราแลกเปลี่ยนค่อนข้างแพง และยังมีค่าธรรมเนียมในการใช้จ่ายสกุลเงินต่างประเทศอีกด้วย
2) การใช้เงิน
ร้านค้าใหญ่ๆ อย่าง TESCO ก็รับการจ่ายด้วยบัตรแบบ contactless กันหมดแล้ว เวลาจ่ายเงินเราไม่ต้องเสียบบัตรเข้าไปในเครื่อง แค่แปะบัตรกับเครื่องก็สามารถจ่ายเงินได้แล้วโดยที่ไม่ต้องกด pin จากประสบการณ์ บัตร Planet card/Travel card/Journey หรือ บัตรเครดิตจากธนาคารไทยก็สามารถจ่ายแบบ contactless ได้เลย
แต่ส่วนใหญ่แล้ว เวลาไปซื้อของจะจ่ายเงินผ่าน apple pay ถ้าเราเพิ่มบัตรเข้าไปใน apple pay/samsumg pay แล้ว ก็สามารถจ่ายแบบ contactless ผ่านมือถือได้เลย ส่วนตัวมองว่าเป็นวิธีที่สะดวกที่สุด เพราะมือถือเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ติดตัวอยู่แล้ว และเวลาเดินไปไหนก็จะมีมือถือติดมือ อยู่ในที่ที่หยิบง่าย เวลาจะหยิบจ่ายสินค้าก็สะดวกมากๆ ข้อเสียคือบัตรที่มาจากธนาคารไทย ไม่สามารถใช้ผ่าน apple pay ได้ บัตรที่จะสามารถใช้ผ่าน apple pay ได้จะต้องเป็นบัตรที่ออกโดยธนาคารหรือสถาบันการเงินของอังกฤษเท่านั้น ดังนั้นเลยแนะนำให้เปิดบัญชีกับธนาคารที่อังกฤษค่ะ
ทั้งนี้ การเปิดบัญชีกับสถาบันการเงินที่ใหญ่ๆ อย่าง HSBC, Lloyds bank, Bank of Scotland จะใช้เวลานาน ขอเอกสารค่อนข้างเยอะ บางทีก็ต้องรอเอกสารจากทางมหาลัยเพื่อยืนยันสถานะนักเรียน และบางธนาคารอยากให้เราเข้าไปยืนยันเอกสารที่สาขา นักเรียนบางคนเลยเลือกที่จะเปิดกับ fintech อย่าง Revolut หรือ Monzo กัน เพราะสามารถส่งเอกสารออนไลน์ได้เลย และใช้เวลาน้อยกว่า
3) การทำบัญชี
การทำบัญชีเพื่อให้เห็นรายรับรายจ่าย เป็นนิสัยที่ดีในการควบคุมค่าใช้จ่ายของเราเอง ปกติธนาคารจะมี statement ให้ในแต่ละเดือน แต่เป็นรายงานเพื่อการแสดงเงินเข้าเงินออก และเงินคงเหลือเท่านั้น ถ้าให้เรามานั่งจดรายจ่ายแต่ละรายการ และจัดหมวดหมู่ค่าใช้จ่ายคงต้องใช้เวลานาน และน่าเบื่อ
Revolut เป็นแอปในมือถือที่ช่วยจัดหมวดหมู่ค่าใช้จ่ายจากชื่อร้านค้าที่เราทำรายการ เช่น Marks & Spencer ก็จะอยู่ในหมวด grocery ทำให้เราสามารถเห็นภาพรวมค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนได้ชัดเจนขึ้น ซึ่งเราสามารถโอนเงินเข้า Revolut แล้วจ่ายด้วยบัตรเดบิตของ Revolut หรือเราแค่ลิ้งข้อมูลจากธนาคารสัญชาติอังกฤษอื่นๆ เข้ามาในแอป เราก็จะสามารถใช้ฟังก์ชั่นนี้ในการจัดการค่าใช้จ่ายได้เช่นกัน
ตอนนี้ส่วนตัวก็ใช้ Revolut ในการบันทึกค่าใช้จ่ายรายเดือนอยู่เหมือนกัน จะเห็นจาก screenshot ด้านล่าง แอปก็จะแสดงให้เห็นว่าในเดือนนี้เราใช้เงินไปเท่าไหร่ เทียบกับเดือนที่แล้วในเวลาเดียวกัน เราใช้เงินน้อยลงหรือมากขึ้น ถ้าเราใช้เงินแบบนี้ไปจนถึงสิ้นเดือน เราจะได้เงินไปทั้งหมดเท่าไหร่โดยประมาณ นอกจากนี้สามารถกำหนด budget ในแต่ละเดือนได้ด้วยว่าเดือนนี้จะใช้เท่าไหร่ และส่วนที่ออมชอบที่สุดคือการแยกค่าใช้จ่ายเป็นหมวดต่างๆ ทำให้เรารู้ว่าค่าใช้จ่ายในเดือนนี้เราหมดไปกับอะไร
4) การจัดการกระเป๋าตังค์กลุ่ม (เวลาไปเที่ยวกับเพื่อน)
สุดท้าย เวลาเราไปเที่ยวกับเพื่อน บางมื้อเราก็ทานกับเพื่อนทั้งกลุ่ม แต่บางมือเราแบ่งกับเพื่อนแค่ 2 คน จะโอนเงินเพื่อเคลียร์บัญชีทุกวันก็ดูยุ่งยาก ดังนั้นเวลาไปทริปกับเพื่อน ออมจะใช้ Splitwise เป็นแอปที่ให้เราบันทึกค่าใช้จ่ายโดยสามารถระบุว่าค่าใช้จ่ายนี้อยากจะแบ่งกับใครบ้าง ซึ่งอาจจะไม่ใช่ทุกคนในทริป และแอปจะคำนวณให้ว่าหลังจากจบทริปแล้ว เราจะต้องจ่ายให้เพื่อนคนไหน เป็นจำนวนเท่าไหร่ หรือจริงๆ เพื่อนอาจจะติดเงินเราอยู่ก็ได้
สุดท้ายนี้ก็ขอทิ้งท้ายด้วยตารางสรุปด้านล่าง ว่าในแต่ละขั้นตอนในการเตรียมเงินไปใช้ที่อังกฤษสามารถใช้บริการกับสถาบันการเงินประเภทไหนได้บ้าง
ผู้ให้บริการ | การแลกเงิน |
การใช้เงิน |
การทำบัญชี | การจัดการกระเป๋าตังค์กลุ่ม | |
บัตรแข็ง | เชื่อมกับ apple pay | ||||
ธนาคารสัญชาติไทย เช่น SCB, KBANK, KTB |
มี | มี | – | – | – |
ธนาคารสัญชาติอังกฤษ เช่น HSBC, Loydes bank |
มี | มี | – | – | |
Fintech เช่น Revolut, monzo |
– | มี (อาจจะมีค่าธรรมเนียมในการออกบัตร) | มี | มี | มี |
Splitwise | – | – | – | มี | มี |
หวังว่าเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ จะเห็นภาพการจัดการเงินระหว่างช่วงที่ไปเรียนต่อกันมากขึ้นนะคะ ขอให้สนุกกับการเรียนในปีนี้ค่ะ
สนใจเรียนต่อสหราชอาณาจักร ปรึกษาพี่ ๆ Hands On ตัวแทนมหาวิทยาลัยอย่างเป็นทางการประจำประเทศไทยฟรี เพียงกรอกแบบฟอร์มด้านล่าง