สวัสดีค่ะ ก่อนอื่นขอแนะนำตัว ชื่อ ข้าวปุ้น ค่ะ เป็นเภสัชกร แต่เลือกเรียนต่อ MBA ที่ University of Sheffield โดยได้รับคำแนะนำตั้งแต่การเลือกคอร์ส เลือกเมือง หอพัก เอกสารที่ใช้ในการสมัครเรียนและเอกสารที่ใช้ทำวีซ่าอังกฤษ จากพี่ Hands On สาขาสีลมค่ะ นอกจากนี้พี่ ๆ Hands On ยังแนะนำเรื่องการเตรียมตัว การเตรียมข้าวของต่าง ๆ การใช้ชีวิตที่อังกฤษ รวมถึงมีงานนัดพบเพื่อนร่วมเมืองร่วมมหาวิทยาลัยอีกด้วย ซึ่งบริการทั้งหมดนี้ไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ และยังสามารถติดต่อเพื่อขอคำแนะนำและความช่วยเหลือได้ตลอดทั้งระหว่างเรียน และหลังจากเรียนจบแล้ว เรียกได้ว่าเป็น one stop service การให้บริการด้านการเรียนต่ออังกฤษจริง ๆ รู้สึกว่าตัวเองโชคดีมากที่เลือกบริการของ Hands On ถ้าใครอยากเรียนต่ออังกฤษ แนะนำ Hands On ค่ะ
สำหรับบทความนี้จะขอเล่าถึงการเตรียมตัวก่อนไปอังกฤษค่ะ โดยจะขอเน้นในส่วนของยาที่ต้องเตรียมไปนะคะ เนื่องจากระบบสุขภาพที่อังกฤษต่างจากไทย เราไม่สามารถซื้อยาบางประเภทได้จากร้านขายยา ถึงแม้ร้านยานั้นจะมีเภสัชกรอยู่ประจำร้านยาก็ตาม ก่อนพบแพทย์จะต้องนัดหมายล่วงหน้าผ่านระบบออนไลน์หรือทางโทรศัพท์ หลังจากพบแพทย์แล้ว เราจะได้รับใบสั่งยา (prescription) และจะต้องนำใบสั่งยานี้ไปซื้อยาที่ร้านขายยาเองค่ะ จะไม่มีการจ่ายยาที่ศูนย์แพทย์ที่เราไปพบแพทย์นะคะ โดยร้านขายยาที่พบได้ทั่วไปในอังกฤษคือร้านบู้ทส์ (Boots) เรียกได้ว่าพบได้ทุกมุมถนนค่ะ
สำหรับยาที่ต้องใช้ใบสั่งยาจะเป็นยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (Antibiotics), ยาแก้ท้องผูก (Constipation), ยาโรคเรื้อรัง เช่น ยาความดัน และ ยาเบาหวาน เป็นต้น แต่ส่วนตัวคิดว่ายาที่จำเป็นต้องนำมาน่าจะเป็นยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย อย่าง Amoxicillin, Dicloxacillin, Roxithromycin, Norfloxacin, Disento ซึ่งยาเหล่านี้จะใช้กับการติดเชื้อที่พบได้บ่อย เช่น การติดเชื้อในลำคอม การติดเชื้อที่ผิวหนัง และการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร ดังนั้น แนะนำให้นำติดตัวมาด้วย แต่ให้ใช้ในกรณีจำเป็นเท่านั้น ห้ามใช้ยาโดยไม่จำเป็น เพราะยาทุกชนิดมีทั้งประโยชน์และโทษ หากเริ่มรับประทานยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียแล้วต้องรับประทานติดต่อกันจนครบโดสการรักษาซึ่งจะแตกต่างกันไปตามชนิดยาและโรคที่เป็น ข้อมูลเหล่านี้สามารถสอบถามจากเภสัชกรที่ร้านยาหรือโรงพยาบาลก่อนเดินทางค่ะ และสำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น หอบหืด ควรนำยาประจำตัวมาด้วยเพื่อให้สามารถใช้ได้ในกรณีฉุกเฉินค่ะ
ส่วนยาอื่น ๆ นอกจากยาที่กล่าวข้างต้น สามารถหาซื้อได้ในร้านขายยาโดยไม่ต้องมีใบสั่งจากแพทย์และไม่ต้องจ่ายโดยเภสัชกร เช่น พาราเซตามอล (Paracetamol), ยาแก้ปวดที่ไม่ใช่พาราเซตามอล (Analgesics) เช่น Ibuprofen, Voltaren , ยาแก้แพ้ (Antihistamine) เช่น Cetirizine, Loratadine, Fexofenadine, ยาลดน้ำมูก แก้คัดจมูก (Cold Relief) เช่น Phenylephrine, Otrivin, ยาแก้ท้องเสียแบบไม่ติดเชื้อแบคทีเรีย(Antidiarrhea) เช่น Carbon, Kaolin, Loperamideยาโรคกระเพาะและกรดไหลย้อน (Peptic ulcer & GERD) เช่น Esomeprazole, Gaviscon, ยาแก้ท้องผูก (Constipation) เช่น Senokot, Fybrogel, ยาแก้ปวดเกร็งในช่องท้อง (Abdominal cramp) เช่น Buscopan และน้ำตาเทียม (Artificial tear) เช่น Systane และ Alcon
ข้อควรระวัง หากรับประทานหรือใช้ยาแล้วพบว่ามีผื่นขึ้นตามผิวหนัง ริมฝีปากบวม แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก ให้หยุดยาแล้วไปพบแพทย์ทันทีและนำยาที่รับประทานอยู่ทั้งหมดไปด้วย เนื่องจากอาการเหล่านี้เป็นอาการที่บ่งบอกว่า เราแพ้ยาหรือส่วนประกอบอื่น ๆ ในตำรับยาที่กำลังรับประทานหรือใช้อยู่ค่ะ ถ้าหากแพ้ยาใดจะต้องหลีกเลี่ยงการใช้ยานั้นไปตลอด เพราะการแพ้ยาซ้ำอาการแพ้จะรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ และต้องแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบว่าเราแพ้ยาใดทุก ๆ ครั้งเพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ยาที่แพ้ซ้ำค่ะ
คิดว่าเพื่อนๆ คงจะได้ข้อมูลเพียงพอสำหรับการเตรียมตัวก่อนมาเรียนต่ออังกฤษในเรื่องของระบบสุขภาพของอังกฤษและการเตรียมยาที่จำเป็น เพราะคงไม่มีใครอยากป่วยจนไม่สามารถไปเรียนได้ นอกเหนือจากการเตรียมยาที่จำเป็นมาให้พร้อมแล้ว เราควรรักษาสุขภาพด้วยการรับประทานอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วน ออกกำลังกาย และพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงและใช้ยาให้น้อยที่สุดค่ะ ครั้งหน้าจะขอเล่าถึงเมือง Sheffield ว่ามีข้อดีต่างจากเมืองอื่น ๆ อย่างไร โปรดติดตามตอนต่อไปนะคะ 🙂