Hands On Education Consultants

เจาะลึกวิชาเรียนของคอร์ส ป.โท ค่าตัวแรง Data Analytics จากท็อปยู QUT

ก่อนจะไปอ่านข้อมูลเจาะลึก จากประสบการณ์ตรงของรุ่นพี่สาย Master of Data Analytics ที่ออสเตรเลีย หรือจากที่มหาวิทยาลัย Queensland University of Technology (QUT) เรามาเริ่มจากดูรายวิชาในคอร์สนี้กันดีกว่า ว่ามีอะไรน่าเรียนบ้าง หรือมีวิชาทางเลือกอื่น ๆ ให้ผู้เรียนได้เลือกเรียน

รีวิว Master of Data Analytics โดย Ha

รีวิว Master of Data Analytics โดย Earn

 

เบื้องต้นต้องมาดูทางเลือกหรือ Specialisation ของ Data Analytics กันก่อน คือ

  1. Biomedical Data Science
  2. Computational Data Science
  3. Statistical Data Science
  4. No Major Option

รีวิวจาก Ha รุ่นพี่ Hands On จากคอร์ส MSc Data Analytics (No Major Option) ที่ QUT

Ha: ที่ QUT คอร์ส Master of Data Analytics เราสามารถเลือกเรียนได้หลายสาย คือเลือกแบบ No Major ได้ เราจะลงวิชาเรียนอะไรก็ได้เลย ไม่จำเป็นต้องลงวิชาตามที่ทางมหาวิทยาลัยกำหนดมาก็ได้ Pathway ก็จะมีพวก Stat เรียนพวกสถิติ ก็จะมีวิชาบังคับของเขา จะมี Biomedical ก็จะเป็นชีววิทยา แล้วก็จะมี Computer Science ก็จะเป็นพวกเขียน Coding ครับ แล้วก็จะมีคนที่เลือก No Major ไปเลย ก็คือเลือกคละกันได้หมดไม่จำเป็นต้องตาม Pathway ของทางมหาวิทยาลัย

เมื่อผู้เรียนเลือกหลักสูตรที่ต้องการแล้ว ก็จะเห็นโครงสร้างวิชาเรียนของตัวเองชัดขึ้น สำหรับ No Major Option ที่เปิดกว้างในวิชาเรียนมากกว่า หลักสูตรจะมี Core Units, Professional Preparations Units, Advanced Units และ Elective Units เป็นวิชาเลือกให้นักศึกษา Customized วิชาเรียนตามความสนใจของตัวเองได้อย่างเต็มที่

ตัวอย่างวิชา Core Units (ต้องเรียนทุกตัว)

ตัวอย่างวิชา Professional Preparations Units (เลือกเรียนได้บางตัว)

ตัวอย่างวิชา Advanced Units (เลือกเรียนได้บางตัว)

ตัวอย่างวิชา Elective Units (เลือกเรียนได้บางตัว)

*สนใจเรียนต่อ Queensland University of Technology ปรึกษาพี่ ๆ Hands On ฟรี คลิก

ตัวอย่างของการบ้านในคอร์ส ป.โท Data Analytics

Ha: การบ้าน อาจจะเป็นพวกวิชา System Design ครับ เขาจะให้เราไปเรียนในวิดีโอก่อน แล้วก็จะมีคาบออนไลน์เป็นวิดีโอย้อนหลังให้ดู ตอนนั้นเขาจะสอนขั้นพื้นฐานให้ก่อนเลยว่า Diagram นี้วาดยังไง วาด Flow ยังไง พอเข้ามาในคาบเรียนก็จะมีตัวอย่างมาให้ ย้อนหลังให้ด้วยเผื่อใครไม่ได้ดู ก็จะได้อธิบายให้ฟังก่อน แล้วในระหว่างคาบเขาก็จะยกสถานการณ์ตัวอย่างมาให้เราลองวาด Flow วาด Diagram ดูว่าเป็นยังไง แต่ละคาบก็จะมีประมาณ 6 – 7 กลุ่ม รวมแล้วประมาณ 30 – 40 คนครับ พอทำงานกลุ่มเสร็จก็จะเอามา ทำ Present ว่ามันตรงกับที่เฉลยไหม หรือว่ามีอะไรเพิ่มเติม

ข้อดี-ข้อเสีย จากประสบการณ์การเรียนต่อที่ QUT จาก Ha และ Earn

ข้อดี:

ข้อเสีย:

การซัพพอร์ตผู้เรียนอย่างรอบด้านของ Queensland University of Technology

Ha: ความประทับใจ คือด้วยความที่ฮ๊ะมาเรียนที่ต่างประเทศครั้งแรกด้วย ก็เลยไม่รู้ว่าจะเปรียบเทียบกับอะไร แต่ก็รู้สึกว่ามันแตกต่างจากที่เมืองไทย เพราะอย่างที่ไทยเรียนหนัก Student Support ก็มีบ้างแต่ก็ไม่ได้เยอะเท่าที่ QUT ที่นี่ก็มี Support หลายอย่างทั้งเรื่องการเรียน การทำการบ้าน ก็มี Support เยอะ อย่างเรื่องการดูแลเขาก็ให้ความใส่ใจกับความเป็นอยู่ของนักเรียนต่างชาติ เลยจะมีกิจกรรมเยอะ

หรือถ้ามีปัญหาอะไรก็สามารถติดต่อกับทาง HiQ ได้ ว่าเรามีปัญหาอะไร เช่น เรื่องการลงทะเบียนเรียนก็สามารถติดต่อเข้าไปได้ว่าเราจะต้องทำอย่างไรบ้าง หรือบางวิชามันจะมี Requirement ว่าจะต้องเรียนวิชาอะไรก่อนที่จะลงตัวนี้ แต่เราเคยมีประสบการณ์เรียน ป.ตรี ตัวนี้มาแล้ว เราก็สามารถไปขอกับ Unit Coordinator ได้ว่าเราไม่อยากเรียนวิชานี้เพราะเราเรียนมาแล้ว เราก็สามารถข้ามไปเรียนตัวที่ยากกว่าได้

ส่วนเรื่อง Support การเรียนก็ขึ้นอยู่กับอาจารย์จากแต่ละคลาสครับ บางคลาสผมก็มีเข้าไปถามว่าอย่างช่วงสัปดาห์นี้ผมไม่ว่าง มีอัดวิดีโอไว้ให้ดูไหม บางทีเขาก็จะอัดวิดีโอพิเศษไว้ให้เรา เพราะบางทีอย่างเวลาทำ Workshop หรือเป็น Practical Class ที่จะต้องทำงานกลุ่ม ซึ่งบางทีเขาจะไม่ได้อัดไว้ให้เรา แต่อันนี้เขาก็จะอัดไว้ให้เราย้อนหลัง

Case Study จากการซัพพอร์ตโดย Unit Coordinator ของมหาวิทยาลัย QUT

Earn: ตอนนั้นเอิร์นก็เคยโดนอาจารย์ตรวจคะแนนผิด เอิร์นก็สงสัย แต่พอดีตอนนั้นเอิร์นยุ่ง ผ่านไปเป็นเดือนเอิร์นถึงอีเมลไปถามว่า เอิร์นอ่าน Comment เขาแล้วเอิร์นไม่เข้าใจว่าเราผิดยังไง แล้วคนที่ตรวจเขาเป็น TA แต่คนที่เอิร์นอีเมลไปหาคือ Unit Coordinator เขาก็เป็นคนดูให้เราเลย แล้วก็แก้ให้เราทันที คือตอนแรกเขารวมคะแนนให้เราผิดก่อน อย่างตอนแรกมันจะเป็น 5 + 5 + 5 มันต้องได้ 15 ซิ ทำไมคุณใส่มาให้เราแค่ 10 พอเสร็จ เอิร์นก็เลยถามเพิ่มว่า แล้วทำไมข้อนี้ชั้นไม่ได้เต็ม เขาก็บอกเราว่าโอเค เดี๋ยวจะไปดูให้ แล้วเขาก็บอกมาเลยว่าเขาขอโทษเป็นอย่างแรก คือคนที่นี่จะไม่มีอคติระหว่างอาจารย์กับนักเรียน คือทุกคนเป็นเพื่อน เหมือนทำงานร่วมกัน เอิร์นรู้สึกว่านี่เป็นครั้งแรกที่เราเคยได้ยินคำว่าขอโทษจากอาจารย์ เพราะเราไม่เคยได้ประสบการณ์แบบนี้ตอนที่เราอยู่ที่ไทยค่ะ อันนี้ก็เป็นข้อดีข้อแรกที่เจอ เพราะอันนี้เป็นเหตุการณ์จากเทอมแรกที่เอิร์นได้เข้ามาเรียนเลย

โอกาสในการทำงาน หรือ Work Placement ที่มหาวิทยาลัย QUT

Ha: Work Placement ของ ป.โท ไม่ได้บังคับครับ แล้วแต่เราไปหามา ว่าเราจะไปสมัคร Internship ที่ไหน จะสมัครงานที่ไหน อย่างของผม ผมได้งานที่มหาวิทยาลัยก็อยู่ที่นี่แหละ แต่ว่าเป็นที่อีกวิทยาเขตหนึ่ง ผมอยู่ที่ Kavin Groove เป็นผู้ช่วย Assistant Data Analytics จะอยู่ Unit ที่เป็น Data Analytics ที่มีประมาณ 10 – 20 คน ก็จะมี Manager คนเดียวที่มาช่วยดูแลผม ก็ช่วยงานตามที่เขาขอ เขาอยากให้ทำอะไรก็ช่วยเขาครับ ตอนนี้ก็ยังทำอยู่ครับ อย่างช่วงปิดเทอมจะทำอาทิตย์ละสองวัน

งานที่ผมได้ทำ จะเป็นเรื่องการช่วยเอาข้อมูลมาจัดเรียง หรือส่วนใหญ่จะเป็นการเข้า Meeting เป็นหลัก Department ของผมคือ Data Analytics จะดูแลจัดการพวก Dashboard ของที่มหาวิทยาลัยซะส่วนใหญ่ แบบของคณะนี้ จะแบ่งข้อมูลเป็น Unit ครับ อย่างของพนักงานก็จะมีการประเมิน KPI ว่าพนักงานทำงานเป็นยังไง มีพนักงานกี่คนเท่าไหร่ หรืออย่างของนักเรียนก็จะมีว่ามีนักเรียนทั้งหมดกี่คน มี Domestic กี่คน International กี่คนจากประเทศไหนบ้าง พอเข้ามาเขาก็จะมีแผนกที่ดูแลเรื่องนี้ มีการให้คะแนนต่าง ๆ ก็จะต้องจัดการดูแล Dashboard ว่าตรงนี้มีปัญหาจะต้องแก้ไขอย่างไร อย่างผมก็มีหน้าที่แค่รับเรื่องแล้วก็ไปส่งต่อให้ว่ามีปัญหาอย่างนี้ ๆ นะ เราก็ต้องช่วยเขา Detect ว่ามีจุดไหนที่ต้อง Update แก้ไขบ้าง ประมาณนี้ คืองานไม่ได้หนักมาก และอีกอย่างคือเป็นเรื่องที่เราสนใจอยู่แล้วด้วยครับ

ตอนแรกก็ดีใจที่ได้งานนี้ เพราะผมก็สมัครงานผ่าน Job Board ไป แต่ก็ไม่ได้คิดว่าจะได้ ตอนแรกคิดว่าคนสมัครเยอะ น่าจะยากมาก ไปสัมภาษณ์ก็รู้สึกกลัวเพราะผมไม่เคยสัมภาษณ์เป็นภาษาอังกฤษ เป็นครั้งแรกเลย แต่ก็มีการเตรียมตัวไปเยอะครับ ตอนนั้นเขารับประมาณ 13 คน ทั่วทั้ง Department ตำแหน่งละ 1 คน ตอนแรกสัมภาษณ์เสร็จก็คิดว่าไม่ได้ครับ เพราะรอผลแล้วมันนานเกินไป แต่ประมาณเดือนหนึ่งเขาก็โทรกลับมาบอกว่าได้ ตอนนี้ทำมาแล้วประมาณ 2 – 3 เดือน ที่ผ่านมาก็เรียนไปด้วย ทำงานไปด้วยแบบได้รับค่าตอบแทนครับ งานนี้ก็ถือว่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วไป ก็ได้ชั่วโมงละประมาณ 45 เหรียญ เยอะเลยครับ ซึ่งถ้าเทียบกับข้างนอก ค่าแรงขั้นต่ำจะอยู่ที่ 23 เหรียญ ก็สูงกว่าประมาณ 2 เท่าเลยครับ เพราะผมก่อนหน้านี้ผมก็ทำงานร้านอาหารไปด้วยช่วงแรก ๆ แต่พอได้งานของมหาวิทยาลัย ก็พักงานที่ร้านอาหารไปครับ

 

ใครอยากเก็บข้อมูลเตรียมสมัครเรียนต่อสาขา Data Analytics กับ Queensland University of Technology ปรึกษาพี่ ๆ Hands On ฟรี เพียงกรอกแบบฟอร์มด้านล่าง