สำหรับน้อง ๆ ที่กำลังวางแผนไปเรียนต่อต่างประเทศ เรียนต่อ ป.โท ต่างประเทศ หรือผู้ปกครองที่อยากสนับสนุนให้บุตรหลานไปเรียนต่อออสเตรเลีย รู้จักจดหมาย GTE ที่เราต้องใช้ยื่นประกอบการสมัครขอวีซ่านักเรียนกันรึยัง? วันนี้พี่ Hands On จะมาเล่าและอธิบายให้เข้าใจกันพอสังเขป ว่า GTE คืออะไร และวิธีเขียน GTE ที่ดีและมีประสิทธิภาพ เป็นยังไง ส่วนน้อง ๆ คนไหนหรือผู้ปกครองท่านใดมีคำถามสงสัยเพิ่มเติม สอบถามข้อมูลได้เลยกับพี่ Hands On ค่ะ
🎓 ทำไมเราถึงต้องเขียน GTE
GTE ย่อมาจาก Genuine temporary entrant เป็นหนึ่งในเอกสารสำคัญที่ต้องใช้ยื่นพร้อมกับเอกสารอื่น ๆ เพื่อสมัครขอวีซ่านักเรียน เพราะว่าทางศูนย์วีซ่าเขาต้องการพิจารณาถึงรายละเอียดเฉพาะบุคคลของผู้สมัคร ในฐานะที่เรากำลังจะยื่นขอวีซ่านักเรียน ซึ่งหมายถึงสถานการณ์ที่เราจะเข้าไปใช้ชีวิตเรียนต่อออสเตรเลียระยะเวลาตามที่วีซ่านักเรียนกำหนด เป็นเกณฑ์การพิจารณาที่จะวัดผล ในอีกนัยยะว่า ผู้สมัครขอรับวีซ่าต้องการขอวีซ่านักเรียนเพื่อจุดประสงค์ในการเรียนตามที่สมัครเรียนจริง แต่ทั้งนี้ GTE ไม่ได้ห้ามมิให้ผู้สมัครที่ไปเรียนจนจบหลักสูตร คาดหวังที่จะหางานทำจากทักษะความรู้ และหางานทำหลังเรียนจบ
และผู้ที่สมัครขอวีซ่า สามารถเขียน Personal Statement หรือ GTE นี้ ในภาษาของตัวเอง หรือภาษาไทยได้ หากเรามีความมั่นใจที่จะเขียนเป็นภาษาไทย มากกว่าภาษาอังกฤษ โดย เมื่อเขียนเสร็จแล้ว จะต้องนำเอกสารไปแปลเป็นภาษาอังกฤษ (ที่มีการรับรอง) อีกครั้งหนึ่ง เพื่อยื่นประกอบการสมัครขอวีซ่า ระยะเวลาในกระบวนการตรวจสอบข้อเท็จจริงใน GTE ใช้เวลาเวลา 10 วันทำการ เป็นต้นไป
📌 หัวข้อที่ต้องเขียน ในบทความ GTE ของเรา
ในการเขียน GTE สมัครขอวีซ่านักเรียน เพื่อเรียนต่อป.โท ต่างประเทศนั้น การเขียนโดยระบุรายละเอียดให้ครบถ้วน และครอบคลุมทุกประเด็นที่จำเป็นนั้น ดีที่สุด ทางสถานทูตได้แนะนำให้ผู้สมัครอ่านรายละเอียดจากเอกสารแนะนำเกณฑ์การพิจารณานี้ Ministerial Direction 69 (52KB PDF) ให้เข้าใจก่อนเริ่มเขียน แต่ไม่ได้ให้ใช้หัวข้อในเอกสารเป็นไกด์หรือเช็คลิสต์ในการเขียน เพราะรายละเอียดในแต่ละหัวข้อนั้น จะต้องเขียนตามความจริงของตัวผู้สมัครเอง น้อง ๆ ที่สนใจรับคำแนะนำในการเขียน GTE แบบตัวต่อตัว สอบถามพี่ Hands On ได้เลย บริการเต็มที่ด้วยความใส่ใจ ไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น
Notes: เคล็ดลับที่พี่ Hands On ขอแนะนำ คือ เตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้อง ที่เราเขียนและอ้างอิงใน GTE มาประกอบ ประกบคู่กับบทความ GTE ของเรา ตอนยื่นสมัครด้วย จะสร้างความน่าเชื่อถือในสิ่งที่เราเขียนได้ดียิ่งขึ้น
Your Statement – Why Study in Australia?
อธิบายว่าทำไมถึงเลือกเรียนต่อออสเตรเลีย ทำไมถึงเลือกเรียนต่อที่มหาวิทยาลัย/สถาบันการสอนแห่งนี้ แล้วทำไมถึงถึงเลือกเรียนในคอร์สนี้ พร้อมทั้งเหตุผลเชื่อมโยงทักษะความรู้ที่จะได้รับกับงานในอนาคต ที่เราจะนำสิ่งที่เรียนไปประยุกต์ใช้ |
Personal Background
เขียนเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับตัวเราเองว่ามีประวัติที่มาอย่างไร เกี่ยวกับครอบครัว ฐานะของทางบ้าน เพื่อให้ข้อมูลและความน่าเชื่อถือในเรื่องของการเงินที่มั่นคงในระหว่างเรียนต่อป.โท ต่างประเทศ รวมถึงพันธะทางสังคม เพื่อให้ความมั่นใจว่าเราจะเดินทางกลับประเทศตัวเองแน่นอน |
Educational Background
เขียนถึงประวัติการศึกษาที่ผ่านมา โดยระบุชื่อของสถาบันการศึกษาให้ชัดเจน ระยะเวลาเรียน หรือใบประกาศนียบัตรเพิ่มเติม โดยต้องมีเอกสารประกอบด้วย อย่างเช่น ใบรับรองผลการศึกษา และ ประกาศนียบัตร เป็นต้น |
Gap in previous study
เหตุผลที่เว้นช่วงเรียนออกไป หรือเล่าว่าช่วงที่ไม่ได้เรียนติดต่อกัน ได้ทำกิจกรรมหรืองานใดอยู่ และใส่เหตุผลที่กลับมาเรียนด้วยว่า เรามีความตั้งใจที่จะเรียนต่อป.โท ต่างประเทศ เพื่อให้ตัวเองได้รับคุณภาพการศึกษาที่ดี และโอกาสในการทำงานที่ดียิ่งขึ้น |
Current employment
ประวัติการทำงานทั้งหมดที่ผ่านมา โดยระบุ
|
Financial Situation
สร้างความน่าเชื่อถือในเรื่องของการเงิน โดยการเน้นย้ำในเรื่องงบประมาณทางการเงินที่เราเตรียมพร้อมไว้ สำหรับการเรียนต่อป.โท ต่างประเทศ หรือแผนการจัดการทางการเงินที่เราคำนวณไว้ พร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น Bank Statement หรือ สลิปเงินเดือนที่ผ่านมา หรืออื่น ๆ |
Employment in Australia
อธิบายสิ่งที่เราคาดหวังในการทำงาน เมื่อเรียนจบจากหลักสูตรที่เราเลือกในประเทศออสเตรเลีย อย่าง หลักสูตรที่เราได้เรียนไป จะช่วยให้เราได้ทำงานในสายงานที่เกี่ยวข้องอย่างไร รวมทั้งความคาดหวังในเงินเดือน สวัสดิการ และอื่น ๆ |
Immigration History
หากเราเคยมีประวัติย้ายข้ามประเทศ ไปด้วยสถานการณ์ใด ๆ มาก่อน ระบุข้อมูลรายละเอียดให้ชัดเจน พร้อมเอกสารประกอบที่เกี่ยวข้องด้วย พร้อมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับการทำงาน หรือเรียนต่อป.โท ต่างประเทศอื่น ๆ หรือการถูกปฏิเสธวีซ่าที่ผ่านมา |
น้อง ๆ ที่กำลังวางแผนเรียนต่อออสเตรเลีย อาจต้องจัดเรียงลำดับการเล่าเรื่องในแต่ละส่วนของการเขียน GTE ให้ดี เพื่อให้ทั้งเรียงความมีรายละเอียดที่ครบถ้วน และมีน้ำหนักเชื่อถือเพียงพอ หากผู้เขียนเป็นผู้ปกครอง เพราะผู้ไปเรียนเป็นผู้ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ รูปแบบการเขียนจะเป็นในมุมของผู้ปกครองเขียนเล่าถึงจุดประสงค์ที่ส่งผู้เรียนไปเรียนต่อออสเตรเลีย ปรึกษา Hands On เรื่องการเขียน GTE ได้ฟรี
📙 การพิจารณา GTE นั้นจะประเมินผลจาก 4 ข้อนี้ เป็นหลัก
1. สถานการณ์ทางบ้านและทางการเงิน
- เหตุผลที่เลือกเรียนต่อ ป.โท ต่างประเทศ ไม่เลือกเรียนต่อในประเทศของตน
- พันธะทางครอบครัวและสังคม
- สถานะทางการเงิน
- การเข้าเกณฑ์ทหาร
- สถานการณ์ความไม่สงบทางการเมืองและสังคม
2. สถานการณ์ความเป็นไปได้ในประเทศออสเตรเลีย
- พันธะใด ๆ ที่จะทำให้ผู้สมัครต้องการอยู่อาศัยในประเทศ
- ความรู้จักและเข้าใจในคอร์สเรียนและสถาบันการศึกษาที่เลือกเรียน
- ประวัติการศึกษาที่ผ่านมา
- การวางแผนการใช้ชีวิตต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เมื่อต้องไปเรียนต่อ ป.โท ต่างประเทศ
- ความมั่นคงทางการเงินในระหว่างการใช้ชีวิตในออสเตรเลีย
3. คุณค่าความสำคัญของหลักสูตรที่เลือกเรียนกับอนาคตของผู้สมัคร
- คอร์สที่เลือกเรียนต่อออสเตรเลีย เหมาะสมกับระดับการศึกษาที่เลือกเรียนหรือไม่
- คอร์สที่เลือกเรียนต่อออสเตรเลีย ตรงกับสายงานที่ผ่านมา หรือในอนาคตของผู้สมัครในประเทศของตน หรือประเทศออสเตรเลีย
- เงินเดือนและสวัสดิการที่คาดหวังที่จะได้รับหลังเรียนจบหลักสูตรการศึกษาที่เลือกไว้
4. ประวัติการย้ายประเทศที่พักอาศัย
- หลักฐานวีซ่าการเดินทางข้ามประเทศต่าง ๆ
- การถูกปฏิเสธหรือยกเลิกวีซ่าที่ผ่านมา
อ้างอิงจาก:
หากน้อง ๆ กำลังมองหาที่ปรึกษาในการไปเรียนต่อ ป.โท ต่างประเทศ สนใจจะเรียนภาษากับเจ้าภาษา เรียนต่อออสเตรเลีย สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดดี ๆ จากพี่ ๆ Hands On ได้เลย เพราะ Hands On คือผู้เชี่ยวชาญด้านการเรียนต่อต่างประเทศ ที่มีพาร์ทเนอร์จากหลากหลายสถาบันการเรียนภาษาและตัวแทนมหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักร, ไอร์แลนด์, สหรัฐอเมริกา, แคนาดา, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์ และสิงคโปร์อย่างเป็นทางการประจำประเทศไทย
Hands On บริการให้คำปรึกษาแนะแนวการเรียนต่อออสเตรเลีย เรียนต่อต่างประเทศ เรียนต่อ ป.โท ต่างประเทศ
เปิดบริการ 6 สาขาทั่วประเทศไทย คือ สีลม (สำนักงานใหญ่), สุขุมวิท, ปิ่นเกล้า, พระราม 2, พระราม 9 และเชียงใหม่
Line : @handson
Facebook : www.facebook.com/HandsOnEdu
Tel : 02 635 5230, 02 821 6877, 084 245 1708