สำหรับน้อง ๆ ที่กำลังวางแผนไปเรียนต่อต่างประเทศ เรียนต่อ ป.โท ต่างประเทศ หรือผู้ปกครองที่อยากสนับสนุนให้บุตรหลานไปเรียนต่อออสเตรเลีย รู้จักจดหมาย GTE ที่เราต้องใช้ยื่นประกอบการสมัครขอวีซ่านักเรียนกันรึยัง? วันนี้พี่ Hands On จะมาเล่าและอธิบายให้เข้าใจกันพอสังเขป ว่า GTE คืออะไร และวิธีเขียน GTE ที่ดีและมีประสิทธิภาพ เป็นยังไง ส่วนน้อง ๆ คนไหนหรือผู้ปกครองท่านใดมีคำถามสงสัยเพิ่มเติม สอบถามข้อมูลได้เลยกับพี่ Hands On ค่ะ
ทำไมเราถึงต้องเขียน GTE
GTE ย่อมาจาก Genuine temporary entrant เป็นหนึ่งในเอกสารสำคัญที่ต้องใช้ยื่นพร้อมกับเอกสารอื่น ๆ เพื่อสมัครขอวีซ่านักเรียน เพราะว่าทางศูนย์วีซ่าเขาต้องการพิจารณาถึงรายละเอียดเฉพาะบุคคลของผู้สมัคร ในฐานะที่เรากำลังจะยื่นขอวีซ่านักเรียน ซึ่งหมายถึงสถานการณ์ที่เราจะเข้าไปใช้ชีวิตเรียนต่อออสเตรเลียระยะเวลาตามที่วีซ่านักเรียนกำหนด เป็นเกณฑ์การพิจารณาที่จะวัดผล ในอีกนัยยะว่า ผู้สมัครขอรับวีซ่าต้องการขอวีซ่านักเรียนเพื่อจุดประสงค์ในการเรียนตามที่สมัครเรียนจริง แต่ทั้งนี้ GTE ไม่ได้ห้ามมิให้ผู้สมัครที่ไปเรียนจนจบหลักสูตร คาดหวังที่จะหางานทำจากทักษะความรู้ และหางานทำหลังเรียนจบ
และผู้ที่สมัครขอวีซ่า สามารถเขียน Personal Statement หรือ GTE นี้ ในภาษาของตัวเอง หรือภาษาไทยได้ หากเรามีความมั่นใจที่จะเขียนเป็นภาษาไทย มากกว่าภาษาอังกฤษ โดย เมื่อเขียนเสร็จแล้ว จะต้องนำเอกสารไปแปลเป็นภาษาอังกฤษ (ที่มีการรับรอง) อีกครั้งหนึ่ง เพื่อยื่นประกอบการสมัครขอวีซ่า ระยะเวลาในกระบวนการตรวจสอบข้อเท็จจริงใน GTE ใช้เวลาเวลา 10 วันทำการ เป็นต้นไป
หัวข้อที่ต้องเขียน ในบทความ GTE ของเรา
ในการเขียน GTE สมัครขอวีซ่านักเรียน เพื่อเรียนต่อป.โท ต่างประเทศนั้น การเขียนโดยระบุรายละเอียดให้ครบถ้วน และครอบคลุมทุกประเด็นที่จำเป็นนั้น ดีที่สุด ทางสถานทูตได้แนะนำให้ผู้สมัครอ่านรายละเอียดจากเอกสารแนะนำเกณฑ์การพิจารณานี้ Ministerial Direction 69 (52KB PDF) ให้เข้าใจก่อนเริ่มเขียน แต่ไม่ได้ให้ใช้หัวข้อในเอกสารเป็นไกด์หรือเช็คลิสต์ในการเขียน เพราะรายละเอียดในแต่ละหัวข้อนั้น จะต้องเขียนตามความจริงของตัวผู้สมัครเอง น้อง ๆ ที่สนใจรับคำแนะนำในการเขียน GTE แบบตัวต่อตัว สอบถามพี่ Hands On ได้เลย บริการเต็มที่ด้วยความใส่ใจ ไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น
Notes: เคล็ดลับที่พี่ Hands On ขอแนะนำ คือ เตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้อง ที่เราเขียนและอ้างอิงใน GTE มาประกอบ ประกบคู่กับบทความ GTE ของเรา ตอนยื่นสมัครด้วย จะสร้างความน่าเชื่อถือในสิ่งที่เราเขียนได้ดียิ่งขึ้น
Your Statement – Why Study in Australia?
อธิบายว่าทำไมถึงเลือกเรียนต่อออสเตรเลีย ทำไมถึงเลือกเรียนต่อที่มหาวิทยาลัย/สถาบันการสอนแห่งนี้ แล้วทำไมถึงถึงเลือกเรียนในคอร์สนี้ พร้อมทั้งเหตุผลเชื่อมโยงทักษะความรู้ที่จะได้รับกับงานในอนาคต ที่เราจะนำสิ่งที่เรียนไปประยุกต์ใช้ |
Personal Background
เขียนเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับตัวเราเองว่ามีประวัติที่มาอย่างไร เกี่ยวกับครอบครัว ฐานะของทางบ้าน เพื่อให้ข้อมูลและความน่าเชื่อถือในเรื่องของการเงินที่มั่นคงในระหว่างเรียนต่อป.โท ต่างประเทศ รวมถึงพันธะทางสังคม เพื่อให้ความมั่นใจว่าเราจะเดินทางกลับประเทศตัวเองแน่นอน |
Educational Background
เขียนถึงประวัติการศึกษาที่ผ่านมา โดยระบุชื่อของสถาบันการศึกษาให้ชัดเจน ระยะเวลาเรียน หรือใบประกาศนียบัตรเพิ่มเติม โดยต้องมีเอกสารประกอบด้วย อย่างเช่น ใบรับรองผลการศึกษา และ ประกาศนียบัตร เป็นต้น |
Gap in previous study
เหตุผลที่เว้นช่วงเรียนออกไป หรือเล่าว่าช่วงที่ไม่ได้เรียนติดต่อกัน ได้ทำกิจกรรมหรืองานใดอยู่ และใส่เหตุผลที่กลับมาเรียนด้วยว่า เรามีความตั้งใจที่จะเรียนต่อป.โท ต่างประเทศ เพื่อให้ตัวเองได้รับคุณภาพการศึกษาที่ดี และโอกาสในการทำงานที่ดียิ่งขึ้น |
Current employment
ประวัติการทำงานทั้งหมดที่ผ่านมา โดยระบุ
|
Financial Situation
สร้างความน่าเชื่อถือในเรื่องของการเงิน โดยการเน้นย้ำในเรื่องงบประมาณทางการเงินที่เราเตรียมพร้อมไว้ สำหรับการเรียนต่อป.โท ต่างประเทศ หรือแผนการจัดการทางการเงินที่เราคำนวณไว้ พร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น Bank Statement หรือ สลิปเงินเดือนที่ผ่านมา หรืออื่น ๆ |
Employment in Australia
อธิบายสิ่งที่เราคาดหวังในการทำงาน เมื่อเรียนจบจากหลักสูตรที่เราเลือกในประเทศออสเตรเลีย อย่าง หลักสูตรที่เราได้เรียนไป จะช่วยให้เราได้ทำงานในสายงานที่เกี่ยวข้องอย่างไร รวมทั้งความคาดหวังในเงินเดือน สวัสดิการ และอื่น ๆ |
Immigration History
หากเราเคยมีประวัติย้ายข้ามประเทศ ไปด้วยสถานการณ์ใด ๆ มาก่อน ระบุข้อมูลรายละเอียดให้ชัดเจน พร้อมเอกสารประกอบที่เกี่ยวข้องด้วย พร้อมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับการทำงาน หรือเรียนต่อป.โท ต่างประเทศอื่น ๆ หรือการถูกปฏิเสธวีซ่าที่ผ่านมา |
น้อง ๆ ที่กำลังวางแผนเรียนต่อออสเตรเลีย อาจต้องจัดเรียงลำดับการเล่าเรื่องในแต่ละส่วนของการเขียน GTE ให้ดี เพื่อให้ทั้งเรียงความมีรายละเอียดที่ครบถ้วน และมีน้ำหนักเชื่อถือเพียงพอ หากผู้เขียนเป็นผู้ปกครอง เพราะผู้ไปเรียนเป็นผู้ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ รูปแบบการเขียนจะเป็นในมุมของผู้ปกครองเขียนเล่าถึงจุดประสงค์ที่ส่งผู้เรียนไปเรียนต่อออสเตรเลีย ปรึกษา Hands On เรื่องการเขียน GTE ได้ฟรี
การพิจารณา GTE นั้นจะประเมินผลจาก 4 ข้อนี้ เป็นหลัก
1. สถานการณ์ทางบ้านและทางการเงิน
- เหตุผลที่เลือกเรียนต่อ ป.โท ต่างประเทศ ไม่เลือกเรียนต่อในประเทศของตน
- พันธะทางครอบครัวและสังคม
- สถานะทางการเงิน
- การเข้าเกณฑ์ทหาร
- สถานการณ์ความไม่สงบทางการเมืองและสังคม
2. สถานการณ์ความเป็นไปได้ในประเทศออสเตรเลีย
- พันธะใด ๆ ที่จะทำให้ผู้สมัครต้องการอยู่อาศัยในประเทศ
- ความรู้จักและเข้าใจในคอร์สเรียนและสถาบันการศึกษาที่เลือกเรียน
- ประวัติการศึกษาที่ผ่านมา
- การวางแผนการใช้ชีวิตต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เมื่อต้องไปเรียนต่อ ป.โท ต่างประเทศ
- ความมั่นคงทางการเงินในระหว่างการใช้ชีวิตในออสเตรเลีย
3. คุณค่าความสำคัญของหลักสูตรที่เลือกเรียนกับอนาคตของผู้สมัคร
- คอร์สที่เลือกเรียนต่อออสเตรเลีย เหมาะสมกับระดับการศึกษาที่เลือกเรียนหรือไม่
- คอร์สที่เลือกเรียนต่อออสเตรเลีย ตรงกับสายงานที่ผ่านมา หรือในอนาคตของผู้สมัครในประเทศของตน หรือประเทศออสเตรเลีย
- เงินเดือนและสวัสดิการที่คาดหวังที่จะได้รับหลังเรียนจบหลักสูตรการศึกษาที่เลือกไว้
4. ประวัติการย้ายประเทศที่พักอาศัย
- หลักฐานวีซ่าการเดินทางข้ามประเทศต่าง ๆ
- การถูกปฏิเสธหรือยกเลิกวีซ่าที่ผ่านมา
อ้างอิงจาก:
หากน้อง ๆ กำลังมองหาที่ปรึกษาในการไปเรียนต่อ ป.โท ต่างประเทศ สนใจจะเรียนภาษากับเจ้าภาษา เรียนต่อออสเตรเลีย สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดดี ๆ จากพี่ ๆ Hands On ได้เลย เพราะ Hands On คือผู้เชี่ยวชาญด้านการเรียนต่อต่างประเทศ ที่มีพาร์ทเนอร์จากหลากหลายสถาบันการเรียนภาษาและตัวแทนมหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักร, ไอร์แลนด์, สหรัฐอเมริกา, แคนาดา, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์ และสิงคโปร์อย่างเป็นทางการประจำประเทศไทย
Hands On บริการให้คำปรึกษาแนะแนวการเรียนต่อออสเตรเลีย เรียนต่อต่างประเทศ เรียนต่อ ป.โท ต่างประเทศ
เปิดบริการ 6 สาขาทั่วประเทศไทย คือ สีลม (สำนักงานใหญ่), สุขุมวิท, ปิ่นเกล้า, พระราม 2, พระราม 9 และเชียงใหม่
Line : @handson
Facebook : www.facebook.com/HandsOnEdu
Tel : 02 635 5230, 02 821 6877, 084 245 1708