Media and Communication Studies
เรียนต่อ Media หรือเรียนต่อ Media and Communications เป็นเรื่องของการเตรียมตัวเข้าไปสู่วงการของสื่อ ไม่ว่าจะเป็นสื่อมวลชน สื่อดิจิทัล สื่อสำนักพิมพ์ ไปจนถึงสื่อโทรทัศน์ ซึ่งสายเรียนนี้จะสามารถต่อยอดไปสู่สื่อภาพยนตร์ได้ด้วย โดยผู้เรียนจะต้องทำความเข้าใจกับสื่อทุกประเภท และรู้กลไกการทำงานกับสื่อทุกชนิดก่อน จึงตัดสินใจเลือกสายเรียนเฉพาะทางที่ต้องการทำงานต่อหลังเรียนจบ แต่ส่วนมากแล้วสายเรียนนี้จะสามารถเปลี่ยนสายงานได้ง่ายถ้าอยู่ในวงการสื่อเช่นเดียวกัน ซึ่งปัจจุบันคอร์สเรียนต่อในสาย Media and Communication มีคอร์สเรียนที่แตกย่อยออกไปเยอะมาก ส่งผลมาจากความเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยที่ต้องมีการปรับหลักสูตรให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา อาจมีการไปผสมผสานกับสาขาวิชาใกล้เคียงกันบ้าง แต่โดยรวมแล้วจะเป็นการเรียนเพื่อฝึกเรื่องความคิดสร้างสรรค์และการวิเคราะห์เทรนด์ของสื่อในปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งหมด
โครงสร้างของหลักสูตร Media and Communication Studies
ผู้ที่เลือกคณะนี้ในระดับปริญญาโทจะได้เรียนต่อ 1-2 ปี โดยเรียนตั้งแต่ประวัติศาสตร์เบื้องต้นของแวดวง Media เพื่อให้รู้ เข้าใจ และวางแผนการใช้สื่อในแง่มุมต่าง ๆ ได้ เพราะทุกสื่อสารข้อมูลความรู้หรือประเด็นใด ๆ ผ่านสื่อสาธารณะจะมีผลที่ตามมา ไม่ว่าจะเป็นเพื่อการตีแผ่ข้อเท็จจริงของสังคม การให้ความรู้ผ่านรูปแบบต่าง ๆ การวิจารณ์ประเด็นข่าวในมุมมองแว่นขยายของเจ้าของสื่อ หรือการนำเสนอความบันเทิงผ่านสื่อ ล้วนต้องมีการฝึกคิดวิเคราะห์และต้องเข้าใจเท่าทันสื่อด้วยทฤษฎีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องก่อน เช่นการสื่อสารเรื่อง ความเท่าเทียมทางเพศ, แนวคิดสตรีนิยม, ความหลากหลายทางเพศ, การเมือง, ชนชาติ, อาชญากรรม, สงคราม หรือประเด็นใดก็แล้วแต่ โดยผู้ที่เรียนต่อในสาขาวิชานี้จะสามารถเลือกเรียนในเอกหรือสาขาเฉพาะทางของตัวเองได้อีกมากมาย หากเลือกเรียนต่อในสาย Media เราจะได้เข้าไปสู่โลกแห่งความคิดสร้างสรรค์ในระดับสากล ยิ่งโลกดิจิทัลพาเทรนด์จากทั่วโลกมารวมอยู่ในอินเทอร์เน็ต การศึกษาและวิเคราะห์เรื่องใหม่จึงสำคัญมากสำหรับสายนี้
ตัวอย่างรายชื่อหลักสูตรการศึกษา Media and Communication
- Digital Communication
- Investigative Journalism
- Media, Humanities and Social Sciences
- Media Management
- Communication
- Public Relations
- Journalism
- Interpreting
- Creative writing and Publishing
- Media and Cultural Studies
- Multimedia Communications
- Creative Technologies
- Digital Technology for Business
- Translation Studies
- Screen Writing
- Creative Advertising
- Communication, Culture and Media
- Film and Television Production
- Music and Sound for Media
- International Journalisms
- Linguistics and English Studies
- Television Fiction Writing
แนวทางอาชีพหลังจบการศึกษา
การทำงานของนักศึกษาที่จบสาขา Media มีการแข่งขันกันสูงมากในวงการ และการเปิดรับสมัครนั้นก็ขึ้นอยู่กับกระแสสังคมและเศรษฐกิจในช่วงนั้นเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นหากใครที่มีทักษะในการทำงานหลากหลายมากกว่ายิ่งได้เปรียบ การไปเรียนต่อที่ได้ทั้งศาสตร์ความรู้ ทักษะการทำงาน พ่วงกับทักษะการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร จะเป็นหนึ่งในข้อได้เปรียบสำหรับคู่แข่งในการหางานประการหนึ่ง แต่ใช่ว่ามีทักษะเท่านี้แล้วเราควรจะหยุดเรียนนะ เพราะสาขาวิชา Media มีมากมายหลายหลักสูตรที่สามารถเรียนเพิ่มได้ตลอด
สำหรับสายอาชีพที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชา Media นี้สายตรง จะมีตำแหน่งงานดังนี้
- Digital marketer
- Media buyer
- Media planner
- Media researcher
- Music producer
- Public relations officer
- Online Media Industries
- Social media manager
- Television broadcasting
- Filmmaker
- Video producer
- Web content manager
- Influencer
ส่วนตำแหน่งอาชีพสำหรับนักศึกษาต่อยอดมา เรียนต่อ Media จะเป็นดังนี้
- Advertising account executive
- Broadcast journalist
- Corporate communications manager
- Editorial assistant
- Event manager
- Film director
- Magazine journalist
- Market researcher
- Marketing executive
- Media researcher
- Photographer
- UX designer
- Writer / Copywriter
สนใจเรียนต่อ Media and Communication ปรึกษาทุกเรื่องเรียนต่อต่างประเทศ กับพี่ ๆ Hands On ฟรี
เปิดบริการ 6 สาขาทั่วประเทศไทย คือ สีลม (สำนักงานใหญ่), สุขุมวิท, ปิ่นเกล้า, พระราม 2, พระราม 9 และเชียงใหม่
Line : @handson
Facebook : www.facebook.com/HandsOnEdu
Tel : 02 635 5230
หรือกรอกแบบฟอร์มด้านล่าง