น้องหลายคนอาจจะสงสัยว่า การเตรียมไปเรียนต่อปริญญาตรีและปริญญาโทต่างกันมากน้อยแค่ไหน การสมัครเรียนปริญญาโทมีคนพูดถึงกันเยอะแล้ว วันนี้เรามาดูรายละเอียดการเตรียมตัวเพื่อสมัครเรียนต่อปริญญาตรีกันบ้างดีกว่าเนอะ น้อง ๆ จะได้เก็บข้อมูลกันล่วงหน้าได้ด้วย เพราะบางมหาวิทยาลัยใน U.S. มีโปรแกรมหรือคอร์สที่ช่วยปูพื้นฐานก่อนเรียนต่อให้เราได้หลากหลายรูปแบบมาก และส่วนใหญ่นักศึกษาจากไทยจะต้องยื่นสมัครเรียนผ่าน Pathways มากกว่าสมัครเรียนตรง เราจึงต้องเตรียมตัวให้ดีให้พร้อม

 

🎓 ข้อมูลทั่วไปสำหรับคอร์สปริญญาตรีที่อเมริกา

ก่อนอื่นเลยระยะเวลาในการเรียนต่อปริญญาตรีที่อเมริกาเท่ากันกับการเรียนที่ประเทศไทย คือเรียนโดยใช้เวลาทั้งหมด 4 ปีการศึกษาด้วยกัน

สำหรับการเรียนต่อปริญญาตรีของที่อเมริกา ในช่วง 2 ปีการศึกษาแรกจะเป็นการเรียนวิชาทั่วไปทั้งหมด ตั้งแต่ Math, History, Literature, Communication และอื่น ๆ ในระหว่างนั้นเองน้อง ๆ จะได้ซึบซับและรับพื้นฐานความรู้ที่สำคัญก่อนจะไปต่อที่การเรียนแบบเจาะลึกเลือกสายเรียนหรือ “Major” ที่จะต้องเรียนในปี 3 และ 4 ซึ่งในระหว่างปีการศึกษาท้าย ๆ นี้ นักศึกษายังสามารถเปลี่ยนหรือเพิ่มสาขา (Minor / Mini-Major) ที่อยากเรียนเข้าไปได้อีก เพื่อเก็บทักษะความรู้ให้ได้มากที่สุดก่อนเพิ่มโอกาสและทางเลือกที่ส่งผลต่ออนาคต ไม่ว่าจะเป็นการเรียนต่อหรือทำงานในอนาคต

 

🎓 การเตรียมตัวเรียนต่อปริญญาตรีที่สหรัฐอเมริกา

พี่ Hands On ได้รวบรวมข้อมูลสำหรับน้อง ๆ ที่อยากตัดสินใจไปเรียนต่อปริญญาตรี ทั้งสำหรับใครที่อยากไปเรียนต่อหลังเรียนจบมัธยม 6 หรือสักมัธยม 5 รวมไปถึงคนที่กำลังเรียนปริญญาตรีและอยากโอนหน่วยกิตไปเรียนต่อด้วย

น้อง ๆ ที่จบจากระบบการศึกษาภาคภาษาไทยและภาษาอังกฤษมีโอกาสแตกต่างกันนิดหน่อยตรงที่ ผู้ที่จบจากโรงเรียนนานาชาติหรือภาคภาษาอินเตอร์ของโรงเรียนจะได้รับสิทธิ์ยกเว้นผลสอบภาษาอังกฤษ (waive IELTS) และสามารถสมัครเรียนตรงได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขการรับสมัครของมหาวิทยาลัยนั้น ๆ เลย

โดยทั่วไปนักเรียนที่จบจากมัธยมศึกษาปีที่ 6 จะต้องเข้าเรียนหลักสูตรปูพื้นฐานก่อนสมัครเข้าเรียนต่อในระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา

*สอบถามรายชื่อมหาวิทยาลัยในอเมริกาที่พร้อม waive ผลสอบวัดผลภาษาอังกฤษ และรายละเอียดเพิ่มเติมจากพี่ ๆ Hands On ตัวแทนมหาวิทยาลัยสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยได้ฟรี

 

🎓 หลักสูตรปูพื้นฐานแต่ละประเภท

  • Undergraduate Pathways: หลักสูตร Foundation แบบของ UK สำหรับที่อเมริกาจะเรียกว่าหลักสูตร Pathways หลักสูตรที่ว่านี้ผู้เรียนสามารถเข้าเรียนต่อในระดับปริญญาตรีได้ถึงแม้เราจะมีผลคะแนน GPA และคะแนนวัดผลภาษาอังกฤษไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนด หลักสูตร Pathways จะใช้เวลาเรียนที่ 4 – 12 เดือน เมื่อเรียนจบหลักสูตร Undergraduate Pathways และมีผลการเรียนดีเยี่ยม ผู้เรียนจะสามารถเข้าเรียนต่อในระดับชั้นปีที่ 1 หรือ ปีที่ 2 ในระดับปริญญาตรีได้ ทั้งนี้เงื่อนไขและรายละเอียดจะขึ้นอยู่กับแต่ละคอร์สเรียนและมหาวิทยาลัยที่เลือก
  • International Year (IY1): หลักสูตรนี้คือการเรียนปีการศึกษาที่ 1 ด้วยหลักสูตรปูพื้นฐานสูตรเข้มข้น ด้วยระยะเวลาเรียน 1 ปี เพราะฉะนั้นเกณฑ์การสมัครเรียนหลักสูตร IY1 อาจจะสูงกว่าเกณฑ์ของการเข้าเรียนแบบ Pathways นิดหน่อย หลังจากจบปีการศึกษาแบบ International Year 1 แล้ว ก็จะสามารถเข้าเรียนในระดับปีการศึกษาที่ 2 ต่อได้เลย
  • เรียนต่อกับสถาบัน Community College อีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจไม่แพ้กัน สำหรับน้อง ๆ ที่ตั้งใจจะไปเรียนต่อในระดับปริญญาตรีก็คือ การเข้าเรียนใน Community College ก่อน 2 ปี แล้วค่อยยื่นสมัครเข้าเรียนกับมหาวิทยาลัยเพื่อ transfer ไปยังปี 3 ของมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาต่อ ข้อดีข้อได้เปรียบของการสมัครเรียนปริญญาตรีที่อเมริกาแบบนี้คือ ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเรียนลงไปได้เยอะมาก เพราะค่าเทอมการศึกษาของการเรียนที่ Community College จัดว่าไม่สูงมาก และการสมัครเข้าเรียนกับบางสถาบันไม่ต้องใช้ผลคะแนนสอบ SAT หรือ ACT ด้วย และอีกข้อดีสุดท้ายก็คือ โอกาสสมัครเข้าเรียนกับมหาวิทยาลัยชั้นนำในอเมริกาก็สูงขึ้นด้วยนะ

สนใจสมัครเรียนผ่าน Community College ปรึกษาพี่ Hands On ได้โดยกรอกแบบฟอร์มด้านล่าง

Noted: สำหรับน้อง ๆ ที่เรียนอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สามารถสอบถามเงื่อนไขหรือหลักสูตร Preparation จากมหาวิทยาลัยหรือการสอบ GED ที่จะช่วยให้เข้าเรียนต่อปริญญาตรีได้จากพี่ Hands On เพราะหลายมหาวิทยาลัยมีชื่อเรียกคอร์สปูพื้นฐานนี้แตกต่างกันออกไป เช่น Prep Digital Online หรือ Undergraduate English Language Program เป็นต้น

 

🎓 การโอนหน่วยกิต (transfer) จากมหาวิทยาลัยในไทยไปยังสหรัฐอเมริกา

สำหรับโอนหน่วยกิต (transfer) ย้ายมหาวิทยาลัยระดับปริญญาตรีที่เรียนอยู่ในไทยไปยังมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา ไม่ว่าจะเป็นการเรียนอยู่ในหลักสูตรภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ สามารถทำได้ ทั้งนี้รายละเอียดจะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละหลักสูตร และ/หรือ มหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา

 

ข้อสอบแต่ละประเภท สำหรับสมัครปริญญาตรีของสหรัฐฯ

การเรียนต่อปริญญาตรีของสหรัฐอเมริกาก็มีระบบสอบเข้าของตัวเองเช่นกัน (Undergraduate Admissions Tests) เพราะทางมหาวิทยาลัยต้องการวัดผลทักษะความเข้าใจในวิชาพื้นฐานของว่าที่นักศึกษาก่อน ว่าพร้อมสำหรับการเข้าเรียนหลักสูตรที่มีเนื้อหาวิชาการขั้นสูงมากน้อยแค่ไหน หรือจะต้องเรียนปูพื้นฐานเพิ่มทักษะภาษาอังกฤษ หรือวิชาอื่น ๆ จากสถาบันเพิ่มเติมให้ผ่านเกณฑ์ก่อน ถึงเข้าเรียนปริญญาตรีได้ โดยจะมีแบบสอบวัดผลดังนี้

  • SAT (Scholastic Assessment Test): แบบทดสอบทักษะเชิงวิเคราะห์ ในการอ่าน การเขียน และทักษะวิชาคณิตศาสตร์ คะแนนเต็มคือ 1600 คะแนนเฉลี่ยขั้นต่ำคือ 1300 แต่ระดับคะแนนที่ผ่านก็จะขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
  • ACT (American College Testing): แบบทดสอบนี้จะวัดผลการคิดวิเคราะห์ในทักษะการอ่าน วิชาภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ รวมทั้งมีสอบข้อเขียนให้เลือกสอบด้วยได้ คะแนนเต็มคือ 36 คะแนนเฉลี่ยขั้นต่ำคือ 22 แต่ระดับคะแนนที่ผ่านก็จะขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การสอบ GED (การสอบเทียบเท่าระดับชั้นมัธยมศึกษา)

General Educational Development หรือ GED คือการสอบวัดผลการศึกษาของสหรัฐอเมริกา เพื่อใช้เป็นเอกสารแทนการยื่น transcript หรือวุฒิการศึกษาในการสมัครเรียนต่อในระดับปริญญาตรี

การสอบ GED (General Educational Development)

  • ผู้ที่ต้องการสมัครสอบ GED จะต้องมีอายุ 16 ปีขึ้นไป
  • เนื้อหาการสอบจะครอบคลุมทั้ง
    • ด้านคณิตศาสตร์ (Mathematical Reasoning)
    • ด้านสังคมศาสตร์ (Social Studies)
    • ด้านวิทยาศาสตร์ (Science)
    • ด้านทักษะการใช้ภาษาและการคิดในวิชาภาษาอังกฤษ (Reasoning Through Language Arts)
  • คะแนนเต็มสำหรับการสอบ GED จะอยู่ที่ 200 คะแนน โดยผู้สอบจะต้องได้คะแนนมากกว่า 145 คะแนนขึ้นไป จึงจะถือว่าสอบผ่านและสามารถใช้คะแนนสอบ GED สมัครเรียนต่อปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาได้
  • ผลการสอบ GED ไม่มีวันหมดอายุ

GED ถือเป็นวุฒิการศึกษาที่ได้การยอมรับอย่างกว้างขวางจากมหาวิทยาลัยทั่วโลก เพราะฉะนั้น ใครที่อยากยื่นสมัครเรียนต่อในระดับปริญญาตรี ก็จะสามารถใช้ผลสอบของ GED ยื่นสมัครเรียนต่อมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาแทน transcript ได้เลย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับการสอบ GED ได้ที่พี่ ๆ Hands On

 

🎓 เอกสารเบื้องต้นที่ต้องใช้ในการสมัครเรียนต่อปริญญาตรี

  • Transcript/GED
  • Passport
  • SAT/ACT (สามารถส่งผลคะแนนตามหลังใบสมัครได้)
  • IELTS/TOEFL/PTE Academic (สามารถส่งผลคะแนนตามหลังใบสมัครได้)

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่พี่ๆ Hands On ตัวแทนมหาวิทยาลัยและสถาบัน Pathway อย่างเป็นทางการประจำประเทศไทยฟรี

 

🎓 ค่าใช้จ่ายในการเรียนต่อปริญญาตรีที่อเมริกา

สำหรับการเรียนต่อในระดับปริญญาตรีที่อเมริกา หากน้อง ๆ เลือกเรียนต่อกับมหาวิทยาลัยรัฐบาลก็จะมีค่าใช้จ่ายที่ถูกลงกว่าการเรียนต่อในมหาวิทยาลัยเอกชน เช่น ที่นิวยอร์ก, แมสซาชูเซตส์ (เมืองบอสตัน), ฟลอริดา และ แคลิฟอร์เนีย เป็นต้น

  • โดยค่าใช้จ่ายของมหาวิทยาลัยรัฐบาลต่อปีจะอยู่ที่ประมาณ $26,290 – $43,721 หรือรวม 4 ปี $105,160 – $174,885 คิดเป็นเงินไทยอยู่ที่ประมาณ 3,501,652.74 – 5,823,379.04 บาท
  • ส่วนค่าใช้จ่ายของมหาวิทยาลัยเอกชน $35,830 – $53,949 หรือรวม 4 ปี $143,320 – $215,796 คิดเป็นเงินไทยอยู่ที่ประมาณ 4,772,914.94 – 7,186,547.25 บาท

Noted: จากค่าเงินอัพเดทวันที่ 4 มกราคม 2022 ที่เว็บไซต์แปลงสกุลเงิน xe.com

อ้างอิงจาก:

ส่วนทุนการศึกษาที่จะได้รับ จะเป็นทุนการศึกษาประเภทปีต่อปี มีเงื่อนไขในการรับทุนการศึกษาที่แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัย มีบางมหาวิทยาลัยที่มอบทุนการศึกษาเป็นส่วนลดค่าเรียนในครั้งเดียวเลยเป็นจำนวนหนึ่ง และมีบางมหาวิทยาลัยที่มอบทุนการศึกษาเป็นรอบปีการศึกษา คือให้ทุนส่วนลดเป็นต่อปี และจะให้ทุนต่อในปีถัดไปหากนักศึกษามีผลการเรียนดีเยี่ยม ถึงเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด

 

🎓 น้อง ๆ ควรเริ่มเตรียมตัวสมัครเรียนต่อตั้งแต่เมื่อไร

การเตรียมพร้อมสมัครเรียนต่อในระดับปริญญาตรี ควรเริ่มหาข้อมูลและเตรียมการล่วงหน้าพอสมควร สำหรับการจะไปเรียนต่อในสหรัฐอเมริกา โดยปรกติน้อง ๆ ควรเริ่มปรึกษาหาข้อมูลกันก่อน 1 ปี เพื่อที่น้อง ๆ และผู้ปกครองจะได้ทำการคัดกรองข้อมูล เลือกมหาวิทยาลัยที่สนใจไปเรียน ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนหรือรัฐบาลดี ที่ตั้งของมหาวิทยาลัยที่จะต้องไปใช้ชีวิตอยู่เป็นระยะเวลาร่วม 4 กว่าปี จะเป็นที่รัฐไหน เมืองใหญ่หรือเมืองรองดี และค่าใช้จ่ายทั้งหมดทั้งค่าเล่าเรียนและค่าครองชีพนั้น มีทุนครอบคลุมสำหรับเรียนจนจบแล้วหรือไม่ และยังมีรายละเอียดอีกมากมายในส่วนของการเตรียมตัวที่น้อง ๆ สามารถหาข้อมูลมาชั่งน้ำหนักและคิดพิจารณาล่วงหน้าได้ สอบถามและขอคำแนะนำเรื่องเรียนต่อปริญญาตรีที่อเมริกากับพี่ Hands On ได้เลย

 

ปรึกษาทุกเรื่องเรียนต่อสหรัฐอเมริกากับพี่ๆ Hands On ตัวแทนมหาวิทยาลัยใน USA กว่า 100 มหาวิทยาลัยประจำประเทศไทยฟรี เพียงกรอกแบบฟอร์มด้านล่าง

Plan to study abroad?

Request us for more information

* All fields required (in English)