Economics

  • Share this:

Economics

เศรษฐศาสตร์ เป็นอีกหนึ่งสาขาวิชาที่เมื่อได้เข้าใจอย่างถ่องแท้แล้วจะเรียนรู้ได้ว่า หลักการเศรษฐศาสตร์นั้นมักซ่อนตัวและเกี่ยวข้องกับทุกมิติของการใช้ชีวิต เศรษฐศาสตร์ไม่ใช่แค่การศึกษาวิธีหาเงิน แต่เป็นการเรียนเจาะลึกเกี่ยวกับปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการอุปโภคบริโภคในสังคม เศรษฐศาสตร์สามารถแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ เศรษฐศาสตร์จุลภาค (Microeconomics) ซึ่งเป็นการศึกษาการตัดสินใจเกี่ยวกับตัวบุคคล และเศรษฐศาสตร์มหภาค (Macroeconomics) ซึ่งเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจโดยรวม โดยทั้งสองประเภทนี้สามารถใช้ศึกษาสภาวะเศรษฐกิจในอดีตและปัจจุบัน รวมถึงแนวโน้มวิกฤตการณ์การเงินที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยทักษะที่จำเป็นในการเรียนต่อสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์คือ ทักษะทางคณิตศาสตร์, ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเศรษฐกิจและการบัญชี, ทักษะการวิเคราะห์, ทักษะการสื่อสาร รวมถึงมีความใส่ใจรายละเอียดและมีความรอบคอบ

 

โครงสร้างหลักสูตร Economics

หลักสูตรการเรียนสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ทั้งในระดับปริญญาตรีและปริญญาโทนั้น จะมีการปูพื้นฐานความรู้ทั้งเนื้อหาทฤษฎีของหลักเศรษฐศาสตร์ ทั้งจุลภาคและมหภาค รวมถึงความเข้าใจองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น หลักสถิติ, คณิตศาสตร์,  สถานการณ์และเศรษฐกิจของโลกปัจจุบัน รวมถึงแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจในอนาคต เป็นต้น

นอกเหนือจากเรื่องพื้นฐานเหล่านี้ หลักสูตร Economics ยังสามารถประยุกต์ใช้ได้กับอีกหลายศาสตร์ โดยหลายมหาวิทยาลัยมักจะมีวิชาเลือกเสรีที่นักศึกษาสามารถเลือกลงเรียนได้ตามความสนใจ ยกตัวอย่างเช่น Economics of Household Finance, Health Economics, Industrial Organisation, International Trade Theory and Policy, Big Data Economics เป็นต้น

สำหรับหลักสูตรปริญญาโทสาขาเศรษฐศาสตร์ มักจะมีการผสมผสานศาสตร์สาขาอื่น ๆ เข้ามา เพื่อเจาะลึกลงตามความต้องการของผู้เรียน

 

ตัวอย่างรายชื่อหลักสูตรระดับปริญญาโทสาขา Economics

  • MSc Economics
  • MSc Economics and International Financial Economics
  • MSc Behavioural and Economic Science
  • MSc Environmental and Natural Resource Economics
  • MSc Economic Analysis
  • MSc Financial Economics
  • MSc Development Economics
  • MSc Circular Economy
  • MSc Computational Economics
  • MA Global Political Economy
  • MSc Sustainable Economics
  • MA International Political Economy
  • MSc Development Economics เป็นต้น

 

แนวทางอาชีพหลังจบการศึกษา

สำหรับนักเศรษฐศาสตร์แล้ว อาชีพหลังจบการศึกษาถือว่ามีโอกาสและทางเลือกที่เยอะมาก ๆ ไม่ว่าจะเป็นสายงานฝั่งธนาคาร สายงานฝั่งบัญชี สายงานฝั่งธุรกิจ รวมถึงทำงานร่วมกับภาครัฐ ก็สามารถทำได้เช่นกัน

  • Credit analyst
  • Personal Finance Advisor
  • Finance planner
  • Policy analyst
  • Economic consultant
  • Business reporter
  • Portfolio Manager
  • Management consultant

 

สนใจเรียนต่อ Economics ปรึกษาทุกเรื่องเรียนต่อต่างประเทศ กับพี่ ๆ Hands On ฟรี

Line : @handson
Facebook : www.facebook.com/HandsOnEdu
Tel : 02 635 5230

หรือกรอกแบบฟอร์มด้านล่าง

Enquiry Form

Please provide the following information and we will aim to respond within 48 hours:

Your details
Please enter your first name.
Please enter your last name.
Please enter a valid email address.
Please enter your phone number.
Please select a country you want to study.
Please select a year you want to study.
Please select your preferred branch.

* All fields required (in English)

  • Share this: