Hands On Education Consultants

Entrepreneurship

Entrepreneurship

เรียนต่อ Entrepreneurship หรือ สาขาผู้ประกอบการ นอกจากจะได้เรียนพื้นฐานและกลยุทธ์ด้านการทำธุรกิจแล้ว สาขาวิชานี้ยังเล็งเห็นถึงความสำคัญของ “นวัตกรรม” (Innovation) ที่จะเข้ามาช่วยต่อยอดผลิตภัณฑ์หรือการบริการให้ตอบโจทย์ผู้บริโภคและความต้องการใหม่ ๆ ของกลุ่มคนในสังคมได้อย่างตรงจุดมากขึ้น 

สิ่งที่ทำให้สาขาวิชา Entrepreneurship แตกต่างจากสาขา Business ทั่ว ๆ ไป คือ การเรียนรู้วิธีคิดเชิงนวัตกรรมโดยนำความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) เข้ามาสู่กระบวนการวางแผนธุรกิจ พร้อมด้วยการทำความเข้าใจปัจจัยด้านเศรษฐศาสตร์ ภูมิศาสตร์ สังคมศาสตร์ วัฒนธรรม และ จิตวิทยา ที่จะมีอิทธิพลและส่งผลกระทบต่อองค์กร ทำให้ผู้เรียนได้เตรียมรับมือที่จะเผชิญความท้าทายรูปแบบต่าง ๆ ในการทำธุรกิจ รวมถึงเข้าใจวิธีการแก้ไขปัญหาและวิธีมองหาโอกาสในการต่อยอดธุรกิจให้ประสบความสำเร็จแม้ว่าจะมีข้อจำกัดต่าง ๆ  ดังนั้นการเรียนสาขาวิชานี้จะครอบคลุมทั้งทักษะที่จำเป็นต่อการรับมือกับความเสี่ยงทางธุรกิจ เช่น การจัดการ (Management), การทำธุรกิจร่วมลงทุน (Business Venture), โมเดลธุรกิจ (Business Models), เงินทุนและการเงิน (Funding and Finance) รวมไปถึงทักษะประเภท Soft Skills เช่น Communication, Leadership และ Negotiation 

 

โครงสร้างหลักสูตร Entrepreneurship

วิธีการเรียนการสอนของสาขาวิชา Entrepreneurship นั้นจะเป็นการผสมผสานระหว่างการบรรยาย (Lecture) และศึกษากลยุทธ์การทำธุรกิจผ่าน Case Study จากบริษัทชั้นนำต่าง ๆ  นอกจากนั้นยังมีการสัมมนา (Seminar) ที่มหาวิทยาลัยจะเชิญผู้ประกอบการหรือวิทยากรผู้เชี่ยวชาญมาแบ่งปันประสบการณ์การทำงานจากแต่ละอุตสาหกรรม เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาองค์ความรู้เชิงลึกโดยตรงผ่านการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้ที่มีประสบการณ์จริง  บางมหาวิทยาลัยยังทำความร่วมมือกับบริษัทเอกชนสร้าง Business Simulation Project ตั้งโจทย์ให้ผู้เรียนได้ลองขบคิด ค้นคว้า หาแนวทางในการดำเนินธุรกิจนั้น ๆ หรือบางครั้งจะนำปัญหาที่เจ้าของกิจการประสบจริง ๆ ในขณะนั้นมาเป็นหัวข้อให้ได้ลองฝึกแก้ไขร่วมกัน 

ดังนั้น สาขาวิชา Entrepreneurship เหมาะกับผู้เรียนที่ต้องการเข้าใจกระบวนการทำธุรกิจตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงไปถึงการจัดการความเสี่ยงและสร้างกลยุทธ์ในการขยายกิจการ และยังเหมาะกับผู้ที่มีไอเดียการทำธุรกิจส่วนตัวอยู่แล้ว สาขาวิชานี้ก็เปิดโอกาสให้นำไอเดียต่าง ๆ มาทดลองทำเป็น Project อีกด้วย

 

ตัวอย่างรายชื่อหลักสูตร

 

แนวทางอาชีพหลังจบการศึกษา

แนวทางอาชีพสำหรับสาขาวิชา Entrepreneurship นั้นค่อนข้างมีความหลากหลายและเป็นที่ต้องการของทั้งองค์กรขนาดใหญ่และองค์กร Startup เพราะผู้ที่จบการศึกษาจากสาขานี้จะมีความรู้ความเข้าใจด้านธุรกิจ และ มีทักษะ Soft Skills ที่พร้อมไปปรับใช้ได้ในสถานการณ์การทำงานจริง ดังนั้น สายงานที่น่าสนใจสำหรับสายผู้ประกอบการ ได้แก่ 

นอกจากนั้นแล้ว องค์ความรู้ที่ได้จากสาขาวิชา Entrepreneurship ยังตอบโจทย์ผู้ที่อยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง หรือ กลับไปพัฒนาธุรกิจครอบครัวก็ได้เช่นกัน 

สนใจเรียนต่อ Entrepreneurship หรือ ต้องการคำแนะนำเรื่องเรียนต่อต่างประเทศ กับพี่ ๆ Hands On ปรึกษาฟรี

เพียงกรอกแบบฟอร์มด้านล่าง